ยังไม่ทันยื่นภาษีของปี 64 รายการลดหย่อนภาษีใหม่ล่าสุดประจำปี 65 ก็เข้ามาให้ได้ชื่นใจเสียแล้ว ปีที่แล้วอาจจะต้องรอเก้อ แต่ปีนี้เตรียมกระเป๋าตังค์ให้ดีๆ เพราะมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” กลับมาอีกครั้ง โดยมาตรการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐได้ตระเตรียมไว้มอบเป็นของขวัญต้อนรับปีใหม่ให้แก่ประชาชนชาวไทยผู้เสียภาษีทุกคน ซึ่งมาตการ “ช้อปดีมีคืน”จะน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน หรือมีรายละเอียดสำคัญอะไรบ้างที่ต้องรู้ บทความนี้อาจมีคำตอบที่มองหา
Q1: ช้อปดีมีคืนเริ่มใช้สิทธิได้เมื่อไหร่
A1: เริ่มใช้ได้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565 ถึงวันที่ 15 ก.พ.2565
Q2: ใครมีสิทธิ์ใช้ "ช้อปดีมีคืน" บ้าง ?
A2: ผู้มีเงินได้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน ซึ่งต้องไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ (ผ่านบัตรประชาชน) และไม่ได้ลงทะเบียนโครงการรัฐอื่นๆ (เช่น ผู้ที่ใช้สิทธิ์ช้อปดีมีคืน จะต้องไม่ใช้สิทธิ์คนละครึ่งในปีเดียวกัน)
Q3: "ช้อปดีมีคืน" ลดหย่อนภาษีท่าไหร่
A3: ตามที่ซื้อจริง หรือไม่เกิน 30,000 บาท
Q4: เงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจาก "ช้อปดีมีคืน
A4: กำหนดให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สามารถนำค่าสินค้า หรือค่าบริการเท่าที่ได้จ่ายจริงไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2565 โดยการซื้อสินค้า หรือบริการทั้งหมดจะต้องเป็นการใช้จ่ายต้องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่รัฐกำหนดเท่านั้น
Q5: สินค้า หรือบริการอะไรบ้างที่เข้าร่วมมาตการ “ช้อปดีมีคืน”
A5: สินค้าหรือบริการที่เข้าร่วมมาตรการช้อปดีมีคืนมีอยู่ด้วยกันกลักๆ 3 ประเภทคือ
- สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- หนังสือ และ e-book ที่ซื้อจากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- สินค้า OTOP ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน
Q6: สินค้า หรือบริการที่ไม่เข้าร่วมมาตการ “ช้อปดีมีคืน”
A6: สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วมมาตรการช้อปดีมีคืนมีทั้งหมด 11 รายการ ดังนี้
- ค่าสุรา เบียร์ ไวน์
- ค่ายาสูบ
- ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าหนังสือพิมพ์และนิตยสารและค่าบริการ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อ มูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์
- ค่าที่พักในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
- ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์
- ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
Q7: หลักฐานสำคัญที่ต้องมี
A7:
ประเภทสินค้า หรือบริการ | หลักฐานที่ต้องใช้ |
สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม | ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ |
หนังสือ และ e-book | ใบเสร็จซื้อสินค้า/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ |
สินค้า OTOP | ใบเสร็จซื้อสินค้า/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ |
Q8: คุ้มไหมถ้าอยากใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจาก “ช้อปดีมีคืน”
A8: คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่ายิ่งซื้อเยอะเท่าไหร่ก็จะได้ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วต้องดูด้วยว่าเราเสียภาษีในอัตราภาษีที่เท่าไหร่
ยกตัวอย่างเช่น นาย noon มีเงินได้สุทธิ 300,000 บาท ซึ่งอยู่ในขั้นบันไดอัตราภาษี 5% ซึ่งจะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีจากมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” สูงสุดเพียง 1,500 บาทเท่านั้น ต่อให้จ่ายเงินค่าช้อปปิ้งไปเต็มๆ 30,000 บาทก็ตาม
เงินได้สุทธิ | อัตราภาษี | สิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุด |
ไม่เกิน 150,000 | 5% | ไม่เสียภาษี ไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิ จากมาตรการช้อปดีมีคืน |
มากกว่า 150,000 - 300,000 | 5% | 1,500 |
มากกว่า 300,000 - 500,000 | 10% | 3,000 |
มากกว่า 500,000 - 750,000 | 15% | 4,500 |
มากกว่า 750,000 – 1,000,000 | 20% | 6,000 |
มากกว่า 1,000,000 - 2,000,000 | 25% | 7,500 |
มากกว่า 2,000,000 - 5,000,000 | 30% | 9,000 |
มากกว่า 5,000,000 ขึ้นไป | 35% | 10,500 หรือมากกว่า |
วิธีคำนวณหามูลค่าลดหย่อนภาษีจากมาตการ “ช้อปดีมีคืน”
[เงินได้สุทธิ – 150,000 (เงินได้ที่สรรพากรยกเว้น)] – อัตราภาษี = มูลค่าลดหย่อนภาษีจากมาตการ “ช้อปดีมีคืน”
หากอยากใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” ให้คุ้มค่า เรื่องแรกที่จำเป็นต้องรู้เลยคือตัวเรานั้นนั้นเสียภาษีในอัตราภาษีที่เท่าไหร่ จะไม่ต้องจ่ายเงินเกินกว่าความจำเป็น และถ้าใครพร้อมแล้วที่ยื่นภาษีปี 64 แล้วล่ะก็อย่าลืมแวะมาเตรียมข้อมูลยื่นภาษีผ่าน noon.in.th นะ ใช้บริการฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียม ช่วยลดขั้นตอนยุ่งยาก เตรียมข้อมูลยื่นภาษีได้ easy กว่าที่เคย
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : itax.in.th, bangkokbiznews.com, thaipost.net