2 นาที

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

แชร์

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ได้ข่าวว่าสรรพากรเอาจริงเอาจังเรื่องการยื่นภาษีอยู่ด้วย โอ๊ย! กลุ้มใจไม่ไหวแล้ว ใครที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์นี้ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะว่าสรรพากรมีทางออกให้พวกเรา และทางออกนั้นก็คือ “การยื่นภาษีเงินได้ย้อนหลัง” 

ยื่นภาษีย้อนหลัง


ยื่นภาษี
กรณีไหนบ้างที่ต้องยื่นภาษีเงินได้ย้อนหลัง 
  • ยื่นภาษีเงินได้ เลยระยะที่สรรพากรกำหนด  
  • ยื่นภาษีเงินได้ ภายในระยะเวลา แต่ไม่ชำระภาษีเงินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด  
  • ยื่นภาษีเงินได้เพิ่มเติม เลยระยะเวลาที่สรรพากรกำหนด



ยื่นภาษีเงินได้ย้อนหลังเตรียมตัวอย่างไร? 
  1. เตรียมเดินทาง เพราะการขอยื่นภาษีเงินได้ย้อนหลังไม่สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้ต้องเดินทางไปยื่น/ชำระภาษีด้วยตัวเองที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ เท่านั้น!!! 
  2. เตรียมเอกสารให้พร้อม ซึ่งเอกสารที่จำเป็นมีดังนี้
  • ฟอร์มภ.ง.ด.90/91 
  • เอกสารหลักฐานแสดงการมีรายได้ หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ที่ได้รับจากนายจ้าง ซึ่งใบ 50 ทวิจะมีรายละเอียดสำคัญๆ อาทิเช่น รายได้รวม เงินสมทบประกันสังคมทั้งหมด เป็นต้น  
  • หลักฐานค่าลดหย่อนต่างๆ (ถ้ามี) เช่น 
  1. หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ล.ย.03)  
  2. หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (ล.ย.04)  
  3. หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (ล.ย.04-1) 
  4. ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับรอง หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดให้แก่สถานพยาบาล  
  5. ทะเบียนสมรส  
  6. เอกสารรับรองบุตร  
  7. หนังสือรับรองการซื้อกองทุน LTF RMF สามารถขอได้จาก บลจ.  
  8. ใบเสร็จ หรือเอกสารที่ช่วยยืนยันการจ่ายเบี้ยประกัน (สามารถตรวจสอบสิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันได้ที่ My Tax Account) 
  9. ใบกำกับภาษีจากการซื้อของช่วงช็อปช่วยชาติ สินค้า OTOP สินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา และหนังสือและอีบุ๊ค  
  10. ใบกำกับภาษีจากการเที่ยวเมืองหลัก หรือเมืองรอง  
  11. ใบกำกับภาษีจากการซ่อมแซมบ้าน และรถที่เสียหายจากน้ำท่วม  
  12. ใบอนุโมทนาบุญ หรือใบเสร็จรับเงินที่ระบุชื่อผู้ยื่นภาษีเป็นผู้บริจาค  
  13. บริจาคเพื่อพรรคการเมือง ใบเสร็จ หรือหลักฐานอื่นๆ ที่ช่วยยืนยันว่าผู้ยื่นภาษีได้บริจาคช่วยเหลือพรรคการเมือง อาทิเช่น ใบโอนกรรมสิทธิ์ต่างๆ ที่ผู้ยื่นภาษีบริจาคให้แก่พรรคการเมือง เป็นต้น 

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารสำหรับยื่นภาษี

3.เตรียมรับโทษ (ถ้ามี) 
ข้อนี้อาจดูน่ากลัว แต่จริงๆ แล้วก็น่ากลัวอย่างที่คิดนั้นแหละ เพราะการยื่น หรือชำระภาษีเลยระยะเวลาที่สรรพากรนั้นถือว่าเป็นการกระทำผิด ซึ่งบทลงโทษที่จะได้รับมี ดังนี้ 
  • เสียค่าปรับทางอาญา ไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร (ในทางปฏิบัติสามารถขอลดค่าปรับได้ ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 200 บาท ) 
  • เสียเงินเพิ่ม อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี (นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน เช่น  1  เดือน 15 วัน ก็จะนับเป็น 2 เดือนทันที) 
  • เสียเบี้ยปรับ 1- 2 เท่า ของภาษีที่ต้องจ่าย ตามแต่ละกรณีความผิด 
ตัวอย่างโทษทางภาษี
กรณีศึกษา บทลงโทษ 
ยื่นภาษีเลยระยะเวลากำหนด แต่ไม่เกิน 7 วัน มีโทษปรับทางอาญา 100 บาท 
อ่านรายละเอียดบทลงโทษทางภาษีอากร 
ปีนี้ยื่นภาษีไม่ทันไม่เป็นไร จงเก็บความผิดพลาดนี้ไว้เป็นบทเรียน เพราะยังมีปีภาษี 64 รอให้เราไปคว้าชัยอยู่ โดยกุญแจสำคัญที่จะทำให้เราได้รับชัยชนะคือการเตรียมตัวให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาข้อมูลของภาษีเงินได้ หรือการหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในเรื่องของภาษีอยู่ไม่น้อย 



ขอบคุณแหล่งข้อมูล : itax.in.th, ztrus.com, posttoday.com, rd.go.th

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

คุ้มมั้ย? มาตรการติดโซลาร์เพื่อลดหย่อนภาษี 200,000

ในยุคที่ค่าไฟแพงขึ้นทุกปี หลายคนเริ่มหันมาสนใจ ติดตั้งโซล่าเซลล์ (Solar Rooftop) เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองในบ้าน ไม่เพียงแค่ช่วยลดค่าไฟรายเดือน แต่ล่าสุดยังมีข่าวดีจากภาครัฐ เมื่อ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติมาตรการทางภาษี เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทนอย่างเป็นทางการแล้ว

เจ้าของบ้านควรรู้! เทียบชัดๆ 3 ประกันบ้านที่จำเป็นเพื่อความอุ่นใจ

บ้านคือหนึ่งในสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตของใครหลายคน การมีบ้านเป็นของตัวเองจึงมาพร้อมกับความรับผิดชอบและภาระค่าใช้จ่ายมากมายที่ต้องดูแล และหนึ่งในสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการคุ้มครองบ้านและคนที่คุณรักให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ด้วยการทำประกันภัย ซึ่งมีหลากหลายประเภทให้เลือก โดยเราจะมาเจาะลึก 3 ประกันสำคัญที่คนมีบ้านควรรู้จัก เพื่อช่วยให้ตัดสินใจเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบ้านของเรา