1 นาที

เงินได้สุทธิ คำนี้สำคัญอย่างไรกับการวางแผนภาษี

แชร์

“เงินได้สุทธิ’ เปรียบเสมือนเป็นสารตั้งต้นสำหรับการเริ่มต้นวางแผนคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วางแผนคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเงินได้สุทธิมีที่มาที่ไปอย่างไรนั้นบทความนี้จะช่วยอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจอย่างเห็นภาพ

สูตรการคำนวณหาเงินได้สุทธิ 

รายได้ (ต่อปี) – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ  

ที่ถูกต้องก็คือนำรายรับทั้งหมดที่ได้มาตลอดทั้งปีไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดให้หย่อนเรียบร้อยก่อน ถึงจะกลายเป็นตัวเลขสุดท้ายที่นำไปคำนวณภาษีได้
หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร ? 
ค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน เพื่อให้ได้เงินได้หรือรายได้สุทธินั้นมาคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษี โดยมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้ ดังนี้ 
เงินได้สุทธิ
สิทธิหักลดหย่อนมีอะไรบ้าง? 
ค่าลดหย่อนและยกเว้นเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป แบ่งได้เป็น 5 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
เมื่อเรารู้แล้วว่าเรามีรายได้เท่าไร หักค่าใช้จ่ายอย่างไร และมีสิทธิลดหย่อนอะไรบ้าง เราก็สามารถนำข้อมูลทั้งหมดมาคำนวณหาเงินได้สุทธิของปีนี้ได้แล้ว หรือถ้าใครคำนวณเองแล้วไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่ สามารถลองไปคำนวณได้ที่เว็บยื่นภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากรกันได้ตามลิงก์นี้ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/  

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

คุ้มมั้ย? มาตรการติดโซลาร์เพื่อลดหย่อนภาษี 200,000

ในยุคที่ค่าไฟแพงขึ้นทุกปี หลายคนเริ่มหันมาสนใจ ติดตั้งโซล่าเซลล์ (Solar Rooftop) เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองในบ้าน ไม่เพียงแค่ช่วยลดค่าไฟรายเดือน แต่ล่าสุดยังมีข่าวดีจากภาครัฐ เมื่อ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติมาตรการทางภาษี เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทนอย่างเป็นทางการแล้ว

เจ้าของบ้านควรรู้! เทียบชัดๆ 3 ประกันบ้านที่จำเป็นเพื่อความอุ่นใจ

บ้านคือหนึ่งในสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตของใครหลายคน การมีบ้านเป็นของตัวเองจึงมาพร้อมกับความรับผิดชอบและภาระค่าใช้จ่ายมากมายที่ต้องดูแล และหนึ่งในสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการคุ้มครองบ้านและคนที่คุณรักให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ด้วยการทำประกันภัย ซึ่งมีหลากหลายประเภทให้เลือก โดยเราจะมาเจาะลึก 3 ประกันสำคัญที่คนมีบ้านควรรู้จัก เพื่อช่วยให้ตัดสินใจเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบ้านของเรา