2 นาที

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ

แชร์

รู้ไหมทุกครั้งที่คุณควักเงินออกจากกระเป๋ามาเพื่อซื้อสินค้า หรือชำระค่าบริการอะไรบ้างนั่นอาจหมายถึงว่าคุณกำลังได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีโดยไม่รู้ตัว

สิทธิประโยชน์ดี ๆ อย่างค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยที่ต้องการให้ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น ผ่านแรงจูงใจอย่างการช่วยลดภาระทางภาษี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ” และเพื่อไม่ให้ทุกคนต้องพลาดโอกาสดี ๆ แบบนี้ไป เราจึงไปศึกษาและรวบรวมข้อมูลสำคัญของค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจมาไว้ในบทความนี้แล้ว รายละเอียด และเงื่อนไขมีดังนี้ 
ภาษี66

ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย 

ทุกครั้งที่คุณจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน หรือคอนโดสำหรับอยู่อาศัย จำนวนเงินที่จ่ายออกไปจะสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ 
เงื่อนไขทางภาษี 
  • สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง หรือสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท 
  • หากกู้ร่วมกันหลายคนต้องแบ่งค่าลดหย่อนเป็นจำนวนเท่าๆ กัน แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท 
  • ต้องกู้ยืมกับ “ผู้ประกอบกิจการภายในประเทศที่กำหนดไว้” ได้แก่
    1. ธนาคารพาณิชย์
    2. บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน
    3. ธุรกิจหลักทรัพย์/ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
    4. บริษัทประกันชีวิต
    5. สหกรณ์
    6. นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
    7. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
  • ต้องกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน หรือคอนโดสำใช้หรับเป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น จะซื้อในรูปแบบมือ 1 หรือมือ 2 ก็ได้ไม่จำกัด
  • ต้องกู้ยืมเพื่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น และจะต้องสร้างบนที่ดินของตนเองหรือที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครอง
  • ต้องมีการจดจำนองบ้านหรือคอนโดมิเนียมไว้เพื่อเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินกับผู้ให้กู้
  • ต้องใช้บ้านหรือคอนโดที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อนภาษีไปใช้ลดหย่อนภาษีเท่านั้น ยกเว้นกรณีที่ผู้กู้มีเหตุจำเป็น เช่น บริษัทสั่งให้ไปทำงานต่างถิ่นเป็นประจำ หรือเกิดเหตุสุดวิสัย ไฟไหม้ น้ำท่วม ก็สามารถอนุโลมได้เพราะไม่ใช่ความผิดของผู้กู้ค่ะ


ตัวอย่างเช่น นาย tax กับหญิง noon กู้ร่วมกันเพื่อซื้อคอนโดแถวสีลม 1 ห้อง ซึ่งทั้งคู่จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุดได้คนละ 50,000 บาท เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่าค่าลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยจะสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 และหากมีผู้กู้ร่วมจะต้องแบ่งค่าลดหย่อนเป็นสัดส่วนเท่าๆ กัน ดังประโยคข้างต้นที่กล่าวมา 

 มูลค่าบ้านที่จ่าย (บาท) สัดส่วน% ความเป็นเจ้าของ สิทธิลดหย่อน (บาท) 
นาย noon 1,500,000 75 [(2,000,000 × 20% )÷ 5] × 75% = 60,000 
นาง tax 500,000 25 [(2,000,000 × 20% )÷ 5] × 25% = 20,000 

เงินลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคม Social Enterprise
เงื่อนไขทางภาษี 
  • สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง หรือสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปีภาษี
  • ต้องถือหุ้น หรือลงทุนใน วิสาหกิจเพื่อสังคม นั้นๆ จนกว่าจะเลิกกิจการ
  • วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่ผู้เสียภาษีเข้าไปถือหุ้น หรือลงทุนจะต้องมีการแจ้งความประสงค์ให้สิทธิลดหย่อนภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากรแล้ว
หมายเหตุ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” หมายถึง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับการ
ผลิตสินค้า การให้บริการ หรือ การอื่น ๆ โดยมุ่งส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่นที่มีวิสาหกิจเพื่อสังคมตั้งอยู่หรือมีเป้ าหมายอย่างชัดเจนตั้งแต่แรกเริ่มในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก มิใช่การสร้างกำไรสูงสุดต่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งนี้ จะต้องนำผลกำไรไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ไปลงทุนในกิจการ หรือใช้เพื่อผลประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่น ๆ
ช้อปดีมีคืน 2566
สามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า หรือบริการเท่าที่ได้จ่ายจริงไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2566 โดยการซื้อสินค้า หรือบริการทั้งหมดจะต้องเป็นการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566
เงื่อนไขทางภาษี 
  • ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง หรือไม่เกิน 40,000 บาท 
  • ต้องเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวนไม่เกิน 30,000 บาทแรก และจะต้องมีใบกำกับภาษีในรูปแบบกระดาษหรือใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร 
  • ต้องค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวนไม่เกิน 10,000 บาทที่เหลือ จะต้องมีใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น 
  • ต้องเป็นสินค้า หรือบริการที่เข้าร่วมรายการเท่านั้น
 สินค้าหรือบริการที่เข้าร่วมมาตรการช้อปดีมีคืนมีอยู่ด้วยกันกลักๆ 3 ประเภทคือ 
สินค้า/บริการประเภทใบเสร็จรับเงิน
สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ (กระดาษ) หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt
หนังสือ และค่าบริการหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ebooks)ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ (กระดาษ) หรือ e-Receipt
สินค้า OTOP ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ (กระดาษ)/ใบเสร็จรับเงิน (กระดาษ) หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt
หมดไปแล้วสำหรับค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นอย่างไรบ้างครับ กระเป๋าเงินในมือสั่นกันหรือยัง แต่ก่อนที่จะพุ่งตัวไปใช้สิทธิต่าง เรามาเริ่มต้นวางแผนลดหย่อนภาษีกันก่อนดีไหมจะได้รู้ว่าจริงแล้วๆ คุณยังขาดอีกเท่าไหร่ เพื่อป้องกันการเสียเงินอันเกินควร และวันนี้ก็ถือว่าเป็นข่าวดีมาก เพราะเรามีเครื่องช่วยวางแผนลดภาษีดีๆ มาบอกกัน และเครื่องมือนั้นก็คือ noon.in.th ครับ ขั้นตอนการใช้ก็ง่ายมากเลย เพียงแค่คุณกรอข้อมูลตามความเป็นจริง noon.in.th ก็จะช่วยประเมินออกมาว่าภาษีที่คุณต้องจ่ายนั้นเท่า อีกทั้งยังมีฟังก์ชันแนะนำแบบประกันเพื่อลดหย่อนภาษีอีกต่างหาก จะรอช้าอยู่ทำไมล่ะครับ สะดวกแบบนี้ 



ขอบคุณแหล่งที่มา : Taxbugnoms , itax, thinkofliving.com,sethailand.org ,rd.go.th

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

มัดใจลูกค้าด้วย 4 เทคนิคการบริการแบบ Personalize ที่ยังไงก็ปัง

การบริการด้วยการสร้างประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคล (Personalize) กำลังเป็นกลยุทธ์ที่ใครๆ ก็ต่างให้ความสนใจ เพราะการบริการแบบเฉพาะบุคคลนี้จะช่วยให้เราสามารถเพิ่มจำวนลูกค้าประจำได้มากขึ้น รวมไปถึงช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน

5 เทคนิคเลือกประกันรถยนต์สำหรับมือใหม่หัดขับ

มนุษย์เงินเดือนหลาบๆ ท่านพอเริ่มทำงานมาซักระยะหนึ่งก็เริ่มฝันที่อยากจะมีรถยนต์เป็นของตัวเอง และยิ่งหากเป็นมือหัดขับใหม่แล้วด้วย การทำประกันรถยนต์ยิ่งเป็นเรื่องที่ต้องห้ามลืมเด็ดขาด เพราะช่วยให้เราเบาใจในเรื่องของค่าใช้จ่ายค่าซ่อมแซม หากเราบังเอิญขับชน หรือเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด แต่การเลือกประกันรถยนต์ที่ตอบโจทย์อาจทำให้เราเครซี่ได้ วันนี้เราเลยนำเทคนิคการเลือกประกันรถยนต์สำหรับมือใหม่มาฝากกัน