2 นาที

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร และทำไมจำเป็นต้องรู้ก่อนยื่นภาษี?

แชร์

กลิ่นฝนกำลังผ่านไป ส่วนลมหนาวก็ใกล้เข้ามา สัญญาณบ่งบอกว่าช่วงสิ้นปีกำลังวนกลับมาอีกครั้ง หลายคนในที่นี้คงกำลังเตรียมเสื้อผ้าหน้าผมกันอย่างเต็มที่ พร้อมวางแผนเที่ยวเหนือจรดใต้อย่างละเอียดยิบ แต่เอ๊ะ เหมือนลืมอะไรไปหรือเปล่าน้า ติ๊กต๊อก ติ๊กต๊อก ปิ๊งป่องงง! ตายล่ะ!! ลืมไปเลยว่าสิ้นปีแล้วต้องเตรียมยื่นเอกสารจ่ายภาษีสำหรับต้นปีหน้า!!  

ดังนั้นวันนี้เรามาทวนความรู้กันก่อนดีกว่าเงินเดือนอย่างเราที่รายรับรวมๆ ก็หลายล้านบาทต่อปีจะต้องเสียภาษีสักเท่าไรกันเชียว โดยทุกคนสามารถประเมินอย่างคร่าวๆได้ผ่านการคำนวณจาก ‘อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา’  

แล้ว ‘อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา’ คืออะไร? 
อัตราภาษี
ตามที่เห็นในตารางด้านบนสามารถอธิบายอย่างง่าย ๆ ได้ว่า อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็คือ อัตราส่วนที่กำหนดว่าผู้มีเงินได้ต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนกี่ % ของรายได้สุทธิ โดยที่ประเทศไทยเรานั้นคิดอัตราภาษีแบบขั้นบันได หรือก็คือยิ่งมีเงินได้สุทธิมากเท่าไร ยิ่งเสียภาษีมากเท่านั้น  
ซึ่งคุณสามารถประเมินภาษีที่ต้องเสียได้จากสูตรด้านล่าง 
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องเสีย
ตัวอย่างเช่น ในปีนี้ของคุณมีเงินได้สุทธิที่ผ่านการหักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อนเป็นจำนวน 350,000 บาท คุณจำเป็นต้องคำนวณดังนี้ 
1.อัตราภาษีขั้นแรก 1-150,000 บาท (ได้รับการยกเว้น) 
150,000  = ไม่เสียภาษี 
2.อัตราภาษีขั้นที่สอง 150,001-300,000 บาท (เสียภาษี 5 %) 
150,000 x  5% = 7500 บาท 
3.อัตราภาษีขั้นที่สาม 500,001-750,000 บาท (เสียภาษี 10 %) 
50,000 x 10% = 5,000 บาท 
รวมจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีทั้งหมด 0+7500+5000 = 12500 บาท 
ข้อสังเกต เราจะไม่เอาจำนวนเงินได้สุทธิทั้งหมดมาคำนวณทีเดียว เช่น 350000 x 10% แต่จะเป็นการนำไปคำนวณตามอัตราภาษีเงินได้ในแต่ละขั้น ไม่อย่างนั้นเราคงได้เสียภาษีกันบานเลยทีเดียวเชียว 
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีเงินได้ที่ไม่ใช่เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 มากกว่า 1 ล้านบาทต่อปี จะต้องนำเงินได้พึงประเมิณจำนวนดังกล่าวคูณกับ 0.5% แล้วเปรียบเทียบกับภาษีที่ได้จากการคำนวณภาษีด้วยวิธีเงินได้สุทธิโดยจะต้องจ่ายภาษีตามวิธีที่คำนวณได้มากกว่า 
เอาล่ะ รู้อย่างนี้แล้วพอจะประเมินภาษีที่ตัวเองต้องเสียในปีนี้กันได้แล้วหรือยัง? หากยังไม่แน่ใจละก็สามารถขอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน หรือกรมสรรพากรเป็นคนช่วยคำนวณให้ได้เหมือนกัน เพียงแค่เตรียมเอกสารรายรับทั้งหมดไปด้วยก็พอแล้ว แต่ต้องมั่นใจนะว่าคุณไม่ได้ลืมเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งไป ไม่งั้นคงเสียเวลาทั้งสองฝ่ายแน่ๆ 
และถึงแม้คุณจำคำนวณออกมาได้ว่าเงินได้สุทธิของคุณอยู่ในขั้นแรกที่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 คุณก็ยังจำเป็นต้องไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานะ เพราะคุณคงไม่อยากถูกหาว่าเป็นพวกหนีภาษีใช่ไหมล่ะ 

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เปิด 11 ข้อยกเว้นที่ประกันอุบัติเหตุไม่คุ้มครอง

ประกันอุบัติเหตุอาจช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายจากค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่เราต้องประสบกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ แต่ถึงกระนั้นประกันอุบัติเหตุก็ใช่ว่าจะคุ้มครองไปเสียทุกรณี มาดูกันดีกว่าจะมีข้อยกเว้นไหนบ้งที่ประกันอุบัติเหตุไม่คุ้มครอง

6 เครื่องมือช่วยชีวิตตัวแทนประกัน

การมีเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับงานขายประกันสามารถช่วยเหลือตัวแทนหรือนายหน้าขายประกันให้ประสบความสำเร็จในงานขายได้สูงเป็นพิเศษ เพราะเราไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง โดยบทความนี้เราจะมาแนะนำเครื่องมือสำคัญ 6 อย่างที่ผู้ขายประกันควรมีให้พร้อม