1 นาที

ค่าลดหย่อนภาษีสิทธิติดตัว โอกาสประหยัดภาษีที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน

แชร์

เมื่อใกล้สิ้นปีก็ใจหายลงไปทุกที เพราะต้องเตรียมตัวยื่นภาษีเช่นเคย หากมนุษย์เงินเดือนคนไหนคำนวณแล้วรายได้สุทธิไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ยินดีด้วยนะ แต่ถ้าคำนวณแล้วต้องเสียภาษีล่ะก็ อย่าเพิ่งเดินคอตก เพราะสรรพากรมีตัวช่วยดีๆ มาช่วยเราแบ่งเบาเรื่องภาษี หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า “รายการลดหย่อนภาษี” 

สำหรับรายการลดหย่อนที่จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกันในวันนี้คือ “ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มภาระส่วนตัวและครอบครัว” ซึ่งมีรายละเอียด และเงื่อนไข ดังนี้ 

ลดหย่อนภาษี66
ค่าลดหย่อนภาษี คือ?
ค่าลดหย่อนภาษี หรือรายการลดหย่อนภาษีหมายถึง รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากมูลค่าภาษีที่คุณต้องเสีย หรือสรุปง่ายๆ ว่าเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะช่วยให้คุณจ่ายภาษีได้น้อยลงนั้นเอง  และสำหรับค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัวที่จะนำมาใช้ได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับสถานะโดยรวมของคุณว่าเป็นอย่างไร เช่น สถานะโสด หรือสมรส มีบุตรไหม เป็นต้น
ค่าลดหย่อนส่วนตัว
เงื่อนไขภาษี 
  • สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ 60,000 บาทต่อปีภาษี ซึ่งเป็นสิทธิค่าลดหย่อภาษีนสำหรับคนมีเงินได้ทุกคนที่ยื่นแบบแสดงรายการ 
ค่าลดหย่อนคู่สมรส 
เงื่อนไขภาษี 
  • สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ 60,000 บาทต่อปีภาษี  
  • ต้องแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือมีการจดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้ว  
  • คู่สมรส (สามีหรือภรรยา)ต้องไม่มีเงินได้  
  • คู่สมรส หรือตัวคุณต้องอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น 
  • สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 1 คน 
ค่าลดหย่อนบุตร 
เงื่อนไขภาษี 
  • บุตร 1 คนสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้คนละ 30,000 บาทต่อปีภาษี 
  • บุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไปสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาทต่อปีภาษี 
  • สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เท่าจำนวนจริงบุตรที่มี แต่ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย หากเป็นบุตรบุญธรรมสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ 3 คนเท่านั้น 
  • หากมีทั้งบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และบุตรบุญธรรมสามารถใช้สิทธิได้เพียงแค่ 3 คนเท่านั้น นับเฉพาะแค่บุตรที่ยังมีชีวิตอยู่  
  • บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี  ยกเว้นหากบุตรมีอายุอยู่ในระหว่าง 21- 25 และศึกษาอยู่ในระดับปวส.สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 
  • บุตรอายุเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องถูกศาลสั่งให้เป็นบุคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ 
  • บุตรต้องมีเงินได้ในปีไม่เกิน 30,000 บาท ยกเว้นเงินได้ที่เป็นในรูปแบบของเงินปันผลเงื่อนไขบุตรที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา 
เงื่อนไขภาษี 
  • บิดามารดาของคุณ สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาทต่อปีภาษี 
  • บิดามารดาของคู่สมรสสามารถนำไปหักลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาทต่อปีภาษี  
  • บิดามารดาของคุณ หรือของคู่สมรสต้ของคุณองมีอายุเกิน 60 ปี 
  • บิดามารดาต้องมีเงินได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท 
  • คุณต้องบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น 
  • หากต้องการนำบิดามารดาของคู่สมรสมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษี สามารถทำได้เฉพาะกรณีที่คู่สมรสของคุณเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีรายได้เท่านั้น 
  • บิดามารดาต้องกรอกเอกสารแบบ ลย.3 และระบุให้ชัดเจนว่าบุตรคนไหนขอใช้สิทธิ เพราะค่าลดหย่อนนี้สามารถใช้สิทธิได้เพียงครั้งเดียว (หากจะใช้สิทธิของพ่อแม่คู่สมรส ก็ต้องคุยกับพี่น้องหรือพี่น้องของคู่สมรสก่อนด้วยเช่นกัน) 
ดังนั้น หากผู้เสียภาษีเงินได้นำทั้งบิดามารดาของตนเอง และคู่สมรสไปลดหย่อนภาษีก็จะสามารถประหยัดค่าภาษีได้สูงสุดถึง 120,000 บาท 
ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
เงื่อนไขภาษี 
  • สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงหรือสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท/ครรภ์/ปีภาษี 
  • ต้องเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการฝากครรภ์ หรือค่าคลอดบุตรของตนเอง 
ค่าอุปการะเลี้ยงดูแลคนพิการหรือคนทุพพลภาพ  
เงื่อนไขภาษี 
  • สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000  
  • คนพิการหรือคนทุพพลภาพที่คุณดูแลอยู่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี 
  • คนพิการหรือคนทุพพลภาพที่คุณดูแลอยู่ต้องบัตรประจำตัวผู้พิการ และระบุชื่อว่าคุณเป็นคนดูแล 
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มภาระส่วนตัว และครอบครัวสามารถช่วยคุณประหยัดภาษีได้ถึงหลายหมื่นบาท ดังนั้นพยายามรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีของตนให้ดี และแต่ถ้ารู้สึกว่าการวางแผนลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก อย่าลืมแวะเข้ามาที่ noon.in.th นะ เพราะเรามีระบบสุดล้ำที่จะช่วยคุณคำนวณภาษีได้อย่างแม่ยำ พร้อมทั้งช่วยแนะนำแบบประกันชีวิต และประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของความคุ้มครอง หรือช่วยลดหย่อนภาษี noon.in.th มีครบ จบ ทุกเรื่องยื่นภาษี 
ขอบคุณแหล่งข้อมูล: กรมสรรพากร, itax, Taxbugnoms

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะบทความนี้มีคำตอบ

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน