2 นาที

ออกจากงาน ยื่นภาษีเงินได้อย่างไร

แชร์

ในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่รระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้หลายๆ สิ่งแปรเปลี่ยนไป ธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวขนานใหญ่ บางบริษัทลดพนักงานลงเพื่อให้อยู่รอด หรือพนักงานประจำบางคนก็ผันตัวจากการเป็นมนุษย์ออฟฟิศมาสู่การเป็นเจ้าของกิจการ หรือประกอบอาชีพอิสระแทน ซึ่งการออกจากงานไม่ว่าจะเป็นแบบสมัครใจ หรือถูกเชิญออกล้วนต่างหนีไม่พ้นในเรื่องของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับใครที่สงสัยว่าการยื่นภาษีของผู้ที่ออกจากงานแล้วนั้นต้องเตรียมตัวอย่างไร หรือวิธีการที่แตกต่างไปจากที่เคยยื่นภาษีแค่ไหน 

ออกจากงาน ยื่นภาษีเงินได้อย่างไร 
กรณีที่ 1 ออกจากงานแบบสมัครใจ และยังคงว่างงานอยู่ 
  1. มีแต่เงินเดือนอย่างเดียว 
    คำนวณรายได้ที่ที่เกิดขึ้นระหว่างปีภาษี และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ 40(1) ตามปกติ 
  2. มีเงินเดือน + เงินที่เป็นเงินผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 
หากเราลาออกจากงานและตัดสินใจถอดเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกมาด้วย เราจำเป็นต้องนำเงินส่วนที่เป็นผลประโยชน์จากเงินสะสม เงินสมทบนายจ้าง หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบนายจ้าง มาคำนวณภาษีร่วมกับเงินเดือนที่ได้ระหว่างปีภาษีด้วย แล้วค่อยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ 40(1) ตามปกติ 
หมายเหตุ หากเราเป็นสมาชิกในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพครบ 5 ปีแล้ว และอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เงินที่ถอนออกมาจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับการยกเว้นภาษีได้ 
กรณีที่ 2 ถูกเชิญออก 
1.มีแต่เงินเดือนอย่างเดียว ให้นําเงินเดือนมาคำนวณในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ 40(1) ตามปกติ 
2.เงินเดือน +เงินพิเศษ 
เงินพิเศษในที่นี้หมายถึง เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินช่วยเหลือผู้ที่ออกจากราชการเงินบำเหน็จดำรงชีพ หรือเงินที่จ่ายให้ครั้งเดียวที่มีวิธีการคํานวณอื่นๆ โดยมีแนวทางในการยื่นภาษีตามอายุงาน ดังนี้ 
อายุงานน้อยกว่า 5 ปี 
นำเงินส่วนที่เป็นเงินพิเศษ มาคำนวณรวมกับเงินเดือนที่เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ 40(1) ตามปกติ 
อายุงานมากกว่า 5 ปี 
สามารถเลือกได้ว่าจะคำนวณภาษีรวม หรือใช้สิทธิแยกคำนวณภาษีได้ ซึ่งวิธีคำนวณภาษีแบบแยกนั้น มี 3 แบบด้วยกัน คือ 
แบบที่ 1 เงินเดือนระหว่างปีภาษี + เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน / เงินผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / เงินช่วยเหลือผู้ที่ออกจากราชการเงินบำเหน็จดำรงชีพ  
นำเงินส่วนที่เป็นเงินพิเศษ มาคำนวณรวมกับเงินเดือนที่เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ 40(1) ตามปกติ 
หมายเหตุ เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน/เงินผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (บางกรณี) /เงินช่วยเหลือผู้ที่ออกจากราชการ/เงินบำเหน็จดำรงชีพ เป็นเงินก้อนพิเศษที่ได้สิทธิยกเว้นภาษี ซึ่งมีเข้าเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 
เงินที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี เงื่อนไข 
เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ได้รับยกเว้น 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท 
เงินช่วยเหลือผู้ที่ออกจากราชการ ไม่จำกัดจำนวน 
เงินผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตาย ทุพพลภาพ เกษียณ (อายุตั้งแต่ 55 ปี) หรือคงเงินผลประโยชน์ไว้ 
เงินบำเหน็จดำรงชีพ ไม่เกิน 15 เท่าของบาญรายเดือน และไม่เกิน 200,000 


แบบที่ 2 เงินเดือนระหว่างปีภาษี + เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคำนวณอื่นๆ  
เราต้องนำเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคำนวณอื่นๆ มาคำนวณตามกรณี ดังต่อไปนี้ 
วิธีคำนวณ 
กรณีเงินเดือน 12 เดือนสุดท้ายเท่ากันทุกเดือน  เงินเดือนเดือนสุดท้าย x จํานวนปีที่ทํางาน 
กรณีเงินเดือน 12 เดือนสุดท้ายไม่เท่ากันทุกเดือน  เงินเดือนถัวเฉลี่ย 12 เดือนสุดท้าย 
+ ร้อยละ 10 x จํานวนปีที่ทํางาน 
เงินเดือนเดือนสุดท้าย x จํานวนปีที่ทํางาน 
หมายเหตุ จํานวนปีที่ทํางาน กรณีเศษของปีถึง 183 วัน ให้นับเป็น 1 ปี ถ้าไม่ถึงให้ปัดทิ้ง 
เข้าข่ายกรณีไหนให้คำนวณตามแต่ละวิธีของกรณีนั้นๆ ไป และเมื่อคำนวณเสร็จแล้ว ให้นำผลลัพธ์ที่ได้มาเปรียบเทียบกับ เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคำนวณอื่นๆ มูลค่าไหนน้อยสุดให้นำมาใช้เป็นมาเป็นฐานเพื่อคํานวณหาค่าใช้จ่าย 
ตัวอย่างเพื่อความกระจ่าง 
นาย A โดนเชิญออกจากงานเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 64 ทำงานมาแล้ว 6 ปี เงินเดือนก้อนสุดท้ายคือ 15,000  ซึ่งนาย A ได้รับเงินเดือนตั้งแต่ ม.ค.- มิ.ย. 64 เดือนละ 12,๐๐๐ บาท และเดือนก.ค. ถึงธ.ค. 64 เดือนละ 15,000 บาท และนายจ้างจ่ายพิเศษให้อีก 200,000 บาท โดยเลือกเสียภาษีเงินได้โดยไม่นําไปรวมคํานวณกับเงินได้อย่างอื่น  
วิธีการคำนวณ  
เนื่องจากเงินเดือน 12 เดือนสุดท้ายไม่เท่ากัน ทำให้ต้องนำเงินเดือนเปรียบเทียบกันเพื่อหาฐานที่น้อยที่สุดสำหรับนำไปคำนวณค่าใช้จ่าย 
เงินเดือนถัวเฉลี่ย 12 เดือนสุดท้าย + ร้อยละ 10 x จํานวนปีที่ทํางาน  {[(12,000 x 6) + (15,000 x 6)] 12[(12,000 x 6) 
+ (15,000 x 6)] 12 +10%} x6 = 89,100 บาท 
เงินเดือนเดือนสุดท้าย x จํานวนปีที่ทํางาน 15,000 x 6 = 90,000 
เมื่อเปรียบเทียบแล้วปรากฏว่าผลัพธ์วิธีแรกมีมูลค่าน้อยที่สุด ให้นำผลลัพธ์นี้ไปใช้เป็นฐานในการคำนวณหาค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน) 7,000 x 6 = 42,000 
ค่าใช้จ่ายส่วนที่สอง (ฐานที่น้อยที่สุด – ค่าใช้จ่ายส่วนแรก) x 50% (89,100 – 42,000) x 50% = 2,355 
รวมค่าใช้จ่าย 42,000 +  2,355 = 44,355 
หาเงินได้หลังค่าใช้จ่าย 
เงินได้สุทธิ (เงินที่นายจ้างจ่าย – ค่าใช้จ่ายทั้งหมด) 200,000 – 44,355 = 155,645 


ยื่นภาษี64
หลังจากที่หาเงินได้สุทธิเสร็จสิ้นแล้วให้นำไปคํานวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ที่สรรพากรกำหนด และสำหรับ เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคำนวณอื่นๆ เราจะต้องต้องนําไปกรอกในใบแนบแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 
แบบที่ 3 เงินเดือนระหว่างปีภาษี + เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคำนวณอื่นๆ + เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน / เงินผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / เงินช่วยเหลือผู้ที่ออกจากราชการเงินบำเหน็จดำรงชีพ 
กรณีได้รับ เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน / เงินผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / เงินช่วยเหลือผู้ที่ออกจากราชการเงินบำเหน็จดำรงชีพ แล้วยังได้รับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคำนวณอื่นๆ อีก ให้นําเงินได้ทั้งหมดมาเป็นฐานได้ทั้งจํานวน ยกเว้นเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคำนวณอื่นๆ ให้นํามาเปรียบเทียบตามวิธีด้านบนก่อน และเลือกผลลัพธ์ที่น้อยที่สุด แล้วค่อยนำมารวมกันเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับคํานวณหาค่าใช้จ่าย 
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยื่นภาษี กรณีออกจากงาน 
  1. หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย 
  2. เอกสารรับรองอายุการทำงาน 
  3. เอกสารรับรองเงินเดือนย้อนหลัง 
ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับเลยว่าเป็นปีที่เหนื่อยสุดๆ แต่ถึงแม้จะเหนื่อยแค่ไหนก็ห้ามท้อเด็ดขาด เพราะฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ และสำหรับใครที่ต้องการลดขั้นตอนในการยื่นภาษีให้กระชับ และสะดวกสบายมากขึ้นอย่าลืมแวะเข้าเตรียมข้อมูลยื่นภาษีกับ noon.in.th เพราะเตรียมข้อมูลยื่นภาษีที่นี่ easy กว่าที่เคย 


ขอบคุณแหล่งข้อมูล  

rd.go.thaommoney.comthebangkokinsight.com,taxbugnoms.coitax.in.th

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

น้ำท่วมบ้าน ประกันบ้านคุ้มครองอะไรบ้าง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับประกันภัยสำหรับเจ้าบ้านที่คนมีบ้านต้องรู้

น้ำท่วมบ้านเสียหายหนัก เคลมประกันภัยบ้านอย่างไรดี

ไฟไหม้ หรือน้ำท่วมเฉียบพลันเป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่สามารถสร้างความสูญเสีย "บ้าน” ของเราได้อย่างมากมาย แต่ถ้าใครที่ทำประกันภัยบ้านไว้ก็ก็ไม่ต้องกังวล เพราะประกันนี้จะช่วยเราแบ่งเบาภาระค่าซ่อมแซมบ้านให้ ซึ่งวิธีการเคลมประกันภัยบ้านนั้นก็ง่ายแสนง่ายมีเพียง 7 ขั้นตอนเท่านั้น