2 นาที

วิธีวางแผนซื้อประกันชีวิตต้องมีเท่าไหร่ถึงจะพอ​

แชร์

จากบทความ “จะซื้อประกันชีวิตเจ้าไหนดี มีวิธีการเลือกอย่างไร” ได้กล่าวถึงประกันชีวิตทั้ง 5 แบบ และเมื่อกล่าวถึงแบบประกันที่เน้นความคุ้มครองชีวิตก็คือ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ และประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา แต่ก็มีคำถามคือเราจะทำทุนประกันชีวิตหรือความคุ้มครองเท่าไหร่ดีถึงจะพอ มีหลักพิจารณาอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

หลักการพิจารณาเลือกทุนให้เหมาะสมมี 5 ข้อดังนี้คือ
  1. ผู้รับผลประโยชน์เป็นใคร (เราต้องดูแลใครบ้าง)
เมื่อผู้ทำประกันเกิดเหตุเสียชีวิตเงินสินไหมหรือเงินทุนประกันที่เราทำไว้ ผู้รับผลประโยชน์จะเป็นผู้ได้รับซึ่งในแต่ละกรมธรรม์ผู้รับประโยชน์นั้นมีมากกว่า 1 คนก็ได้ ในกรณีที่มีผู้รับผลประโยชน์มากกว่า 1 คน จะแบ่งเป็นสัดส่วนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หรือทำกรมธรรม์แยกแต่ละผู้รับผลประโยชน์ก็ได้ เมื่อเรารู้แล้วว่าผู้รับผลประโยชน์เป็นใครก็จากนั้นเราก็มาพิจารณาว่าค่าใช้จ่ายที่แต่ละผู้รับผลประโยชน์นั้นจะต้องใช้เท่าไหร่ไปอีกกี่ปี และนำของแต่ละคนมารวมกัน
ตัวอย่าง ผู้รับผลประโยชน์เป็นแม่อายุ 70 และบุตรอายุ 15 ปี
คาดว่าแม่จะมีอายุถึง 80 ปีคาดว่าใช้เงินกินอยู่อีก 10 ปี ปีละ 100,000 บาท ก็ทำทุนประกัน 10×100,000 = 1,000,000 บาท
บุตร คาดว่าต้องใช้เงินในการศึกษาและกินอยู่อีก 7 ปี ปีละ 200,000 บาท จนถึงอายุ 22 คือเรียนจบ ก็ทำทุนประกัน 7×200,000 = 1,400,000 บาท
สำหรับทุนประกันนี้คิดเฉพาะค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิต ค่ากินอยู่เท่านั้น ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพซึ่งควรวางแผนเป็นประกันสุขภาพให้แต่ละคนจะดีกว่า
  • หนี้สินที่เรามีอยู่
เมื่อเราเสียชีวิตไปแล้วหนี้สินที่เรามีไม่ได้หายไปด้วย ซึ่งจะตกไปอยู่กับทายาท ดังนั้นการทำทุนประกันควรจะครอบคลุมหนี้สินที่เรามีด้วยเช่น หนี้กู้ซื้อบ้าน, หนี้กู้ซื้อรถ, หนี้สินอื่นๆ สำหรับหนี้กู้บ้านหรือกู้ซื้อรถ จะมีประกันชีวิตที่สามารถคุ้มครองสินเชื่อที่เรากู้มา เราสามารถซื้อเพิ่มได้ตอนยื่นกู้ได้เลย ในส่วนของหนี้สินอื่นๆที่ไม่มีประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ เราก็ต้องนำมาคิดเพิ่มเติมสำหรับทุนประกันที่เราทำด้วย
  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆเมื่อเสียชีวิต
ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ต้องใช้เมื่อผู้ทำประกันเสียชีวิต เช่นค่าทำศพ
  • ทุนประกันชีวิตที่มีอยู่แล้ว
เราต้องพิจารณากรมธรรม์ประกันชีวิตที่เรามีแล้วอยู่ว่ามีทุนประกันชีวิตอยู่เท่าไหร่
  • สินทรัพย์ที่เรามีอยู่ปัจจุบัน
สินทรัพย์ที่นำมาพิจารณาคือทรัพย์สินที่เรามีทั้งหมด เช่น เงินสด, กองทุน, หุ้น, บ้าน, ที่ดิน, รถ สำหรับสินทรัพย์ที่ยังไม่ทราบมูลค่า เช่น บ้าน, ที่ดิน, รถ ให้นำราคาประเมินปัจจุบันมาคิด
เมื่อได้ข้อมูลทั้ง 4 ข้อแล้วจากนั้นเราก็จะมาทำการคิดทุนประกันที่เหมาะสมคือ ข้อ1 + ข้อ2 + ข้อ3 – ข้อ4 -ข้อ5 ได้เท่าไหร่ ค่านั้นจะเป็นทุนประกันที่เหมาะสมสำหรับผู้ทำประกัน
จากหลักการพิจารณาเลือกทุนประกันชีวิตให้เหมาะสมทั้ง 5 ข้อ นั้นเป็นวิธีการคิดเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างคือ ความพร้อมในการจ่ายเบี้ยของเรา เพราะถ้าเรารู้ทุนประกันที่เหมาะสมแล้วก็สามารถรู้เบี้ยประกันที่เราต้องจ่ายได้ ซึ่งสามารถสอบถามได้จากตัวแทนหรือช่องทางอื่นๆ นำมาประเมินได้ว่าเราจ่ายไหวไหม ถ้าไม่ไหวอาจจะต้องมาพิจารณาลดทุนประกัน แต่ไม่ว่าเราจะทำเท่าไหร่การมีความคุ้มครองในกรณีที่เราเสียชีวิตมีความจำเป็นโดยเฉพาะคนเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบดูแลค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตของคนในครอบครัว เพื่อที่เมื่อเกิดหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น คนที่เรารักจะได้ไม่ลำบากและสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้

ซื้อประกันชีวิตที่ชอบ บนเบี้ยประกันชีวิตที่ใช่

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะบทความนี้มีคำตอบ

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน