2 นาที

สัญญาเพิ่มเติมในประกันชีวิตคืออะไร และมีวิธีการเลือกอยางไรให้คุ้มค่า

แชร์

การทำประกันชีวิตถือเป็นส่วนสำคัญของการวางแผนทางการเงินในอนาคต เราจึงควรทำความเข้าใจและเปรียบเทียบผลประโยชน์แต่ละแผนให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเลือกซื้อประกัน นอกจากนั้นยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือการเพิ่มสัญญาเพิ่มเติมในประกันที่ส่งผลต่อประกันหลัก สัญญาเพิ่มเติมในประกันชีวิตเป็นส่วนเสริมที่สามารถเพิ่มความคุ้มครองให้เหมาะกับความต้องการของคุณได้ดียิ่งขึ้น ในบทความนี้ เราจึงจะพาทุกท่านมาสำรวจกระบวนการคัดเลือกประกันชีวิต เพื่อช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจเลือกซื้อประกันได้อย่างคุ้มค่าที่สุด 

สัญาเพิ่มเติมประกันชีวิต
1.ประเมินสถานภาพของตัวเอง: 
ขั้นตอนแรกในการเลือกกรมธรรม์ประกันชีวิตคือ เราควรรู้ว่าตัวเราเองเหมาะกับการทำประกันแบบไหนจากการพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ สุขภาพ สถานภาพทางการเงิน และเป้าหมายระยะยาว ตัวอย่างเช่น หากคุณมีอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง ก็อาจจะเหมาะกับประกันที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดหากเกิดการเสียชีวิต 
2.ทำความเข้าใจในตัวประกัน: 
สัญญาเพิ่มเติมประกันชีวิตจะแตกต่างกันไปตามผู้ให้บริการประกันภัย คุณควรทำความเข้าใจตัวสัญญาเพิ่มเติมและบริษัทประกันที่ให้บริการสัญาเพิ่มเติมนั้นๆ พร้อมทำการเปรียบเทียบเงื่อนไข สิทธิประโยชน์ และข้อจำกัดของผู้ให้บริการแต่ละบริษัทก่อนทำสัญญา 

โดยเราสามารถแบ่งสัญญาเพิ่มเติมออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆดังนี้ 

1.สัญญาเพิ่มเติมกลุ่มสุขภาพ 
สัญญาเพิ่มเติมกลุ่มสุขภาพนี้หลายๆท่านน่าจะคุ้นเคยกันดีกับคำว่าประกันสุขภาพ นั่นคือความคุ้มครองด้านสุขภาพนั่นเอง ซึ่งแบ่งย่อยๆ ได้เป็น 3 ประเภทดังนี้ 
  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล จะเป็นความคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาลไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยใน (IPD) หรือ ผู้ป่วยนอก (OPD) แล้วแต่ว่าเราจะเลือกทำแบบไหนหรือทั้งสองแบบ ซึ่งจะมีวงเงินสูงสุดสำหรับความคุ้มครองในแต่ละครั้งของการรักษา 
  • คุ้มครองโรคร้ายแรง จะเป็นความคุ้มครองโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น กลุ่มมะเร็ง, กลุ่มโรคหัวใจ, กลุ่มโรคเกี่ยวกับระบบประสาท โดยแต่ละบริษัทประกันจะระบุว่าคุ้มครองโรคร้ายแรงอะไรบ้าง เมื่อผู้ทำประกันเป็นโรคร้ายแรงบริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาตามค่ารักษาจริงแต่ไม่เกินค่าสูงสุดที่ระบุไว้ หรือในบางแบบจะเป็นแบบ เจอ จ่าย จบ คือเมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงตามที่ระบุจะจ่ายเป็นเงินก้อนมาเลย และสัญญาเพิ่มเติมเป็นอันสิ้นสุด 
  • คุ้มครองค่าชดเชยรายวัน เป็นความคุ้มครองในกรณีที่นอนพักที่โรงพยาบาลหรือเป็นผู้ป่วยใน (IPD) นั่นเอง โดยจะจ่ายเงินชดเชยเป็นรายวันตามที่เราเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในตามจริงสูงสุดตามจำนวนเงินที่เราทำประกันไว้ในส่วนของค่าชดเชยรายวัน 
2.สัญญาเพิ่มเติมกลุ่มอุบัติเหตุ 
เป็นสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ โดยจะคุ้มครองใน 4 ลักษณะคือ 
  • เสียชีวิต คุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ เพิ่มเติมจากแบบสัญญาหลัก 
  • สูญเสียอวัยวะ คุ้มครองในกรณีเสียอวัยวะเนื่องจากอุบัติเหตุ โดยสัญญาจะระบุมาเลยว่าเป็นอวัยวะใดบ้าง เช่น มือ, เท้า, ตา, นิ้ว 
  • ทุพพลภาพ คุ้มครองในกรณีทุพพลภาพเนื่องจากอุบัติเหตุ จะแบ่งเป็น ทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน และทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร 
  • ค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากการอุบัติเหตุ โดยจะมีวงเงินสูงสุดสำหรับการรักษาในแต่ละครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ 
  • อื่นๆ 
3.สัญญาเพิ่มเติมอื่นๆ นอกเหนือจากสุขภาพและอุบัติเหตุ ดังนี้ 
  • สัญญาเพิ่มเติมยกเว้นเบี้ยประกันเมื่อผู้เอาประกันหรือผู้ชำระเบี้ยเป็นผู้ทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร  เป็นสัญญาเพิ่มเติมที่จะยกเว้นเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาหลักในกรณีผู้เอาประกันภัยตกเป็นบุคคลทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร โดยจะยกเว้นเบี้ยเฉพาะแบบสัญญาหลักเท่านั้น ไม่ได้ยกเว้นเบี้ยสัญญาเพิ่มเติมด้วย 

อ่านบทความเกี่ยวกับ “สัญญาเพิ่มเติมคืออะไร แล้วมีอะไรบ้าง” 

3.ลำดับความสำคัญของสัญญาเพิ่มเติม: 
เมื่อคุณรู้ความต้องการของตัวเองและทำความเข้าใจสัญญาเพิ่มเติมที่มีอยู่แล้ว ให้จัดลำดับความสำคัญว่าสิ่งไหนสำคัญมากน้อยอย่างไรต่อสถานการณ์ปัจจุบันหรือแผนในอนาคต พิจารณาว่าการเลือกแบบไหนที่จะให้ผลประโยชน์สูงสุดแก่คุณและผู้รับผลประโยชน์ของคุณ 
4.ประเมินค่าใช้จ่าย: 
โดยทั่วไปการเพิ่มกรมธรรม์ประกันชีวิตจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือที่เรียกว่าเบี้ยประกันภัย ควรประเมินรายจ่ายของตัวเองก่อนว่าสามารถรับผิดชอบค่าเบี้ยประกันส่วนนี้ไหวไหมก่อนตัดสินใจเพิ่มสัญญาเพิ่มเติม แม้ว่าสัญญาเพิ่มเติมบางอันจะไม่ได้มีราคาแพงเท่าไร แต่อาจทำให้เบี้ยประกันโดยรวมของทั้งกรมธรรม์เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คิด พร้อมตรวจสอบให้แน่ใจว่าการทำสัญญาเพิ่มเติมนั้นสมเหตุสมผลกับเบี้ยประกันที่จ่ายไป 
5.ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ: 
การเลือกบริษัทประกันชีวิตที่เหมาะสมอาจเป็นการตัดสินใจที่ยากสำหรับคนที่เริ่มศึกษาในช่วงแรก การขอคำปรึกษากับตัวแทนประกันภัยหรือที่ปรึกษาทางการเงินที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้เป็นอย่างดีจะช่วยให้คุณเข้าใจความต้องการของตัวเอง ความเหมาะสมของแบบประกัน และการเปรียบเทียบผลประโยชน์ของแผนต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ภายใต้การพิจารณาอย่างเป็นกลาง 
6.ตรวจสอบกรมธรรม์เป็นระยะ: 
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิตและสัญญาเพิ่มเติมเป็นระยะๆ เนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเหตุการณ์ในชีวิตของเราจำดำเนินไปแบบใดในแต่ละช่วงเวลา เช่น การแต่งงาน การมีลูก หรือการเปลี่ยนแปลงในสภานภาพการเงิน แต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระทันหันอาจทำให้คุณจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนความคุ้มครองบางอย่างเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากรมธรรม์ที่มีอยู่ยังคงสอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบันอยู่ไหม หากไม่แล้วก็ควรจะติดต่อบริษัทประกันภัยเพื่อทำการปรับเปลี่ยนแผนในส่วนที่คุณต้องการเปลี่ยนก่อนจะมีการต่อสัญญาใหม่อีกครั้ง 
การเลือกกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ตรงกับความต้องการและเป้าหมายในอนาคตเป็นเรื่องสำคัญที่สุด รวมถึงการทำสัญญาเพิ่มเติมที่จะช่วยให้คุณสามารถปรับแต่งกรมธรรม์ตามความต้องการของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าประกันที่คุณถืออยู่ปัจจุบันจะสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา ดังนั้น คุณควรจะทำการหาข้อมูลและทำความเข้าใจในสัญญาเพิ่มเติมที่แต่ละบริษัทประกันมีให้ เพื่อให้การตัดสินใจเพิ่มสัญญาเพิ่มเติมและการเลือกซื้อกรมธรรม์นั้นๆ จะทำให้คุณได้รับการคุ้มครองที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดทั้งกับคุณและคนที่คุณรัก

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะบทความนี้มีคำตอบ

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน