2 นาที

“รู้ไว้ไม่งง…Step เคลมประกันชีวิตหลังเสีย (ชีวิต)”

แชร์

การทำประกันชีวิต หลายๆ คนอาจเคยได้ยินเป็นประโยคขำขันว่า “ซื้อประกันชีวิตเท่ากับแช่ง” แต่ในความเป็นจริงแล้วประกันชีวิตนั้นไม่ได้เกี่ยวกับดวงชะตาชีวิตเลยซักนิดเดียว แต่ประกันชีวิตกลับเป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันล่วงหน้าเพื่อสานต่อความปรารถนาดีให้กับคนที่เรารักในวันที่เราไม่ได้อยู่ข้างๆ เขาได้อย่างเบาใจ ซึ่งก็เป็น 1 ในเหตุผลสำคัญที่คนส่วนใหญ่เลือกทำประกันชีวิต

นอกเหนือจากเทคนิคในการซื้อประกันชีวิตที่ตอบโจทย์แล้ว การเคลมประกันชีวิตก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราไม่ควรพลาดที่จะถ่ายทอดให้ผู้รับผลประโยชน์ได้รับรู้ว่า “การเคลมประกันชีวิต” นั้นมีการเคลมอย่างไรหลังเจ้าของประกันเสียชีวิต

.

1.แจ้งตาย เรื่องง่าย ไม่วุ่น
หลังจากการเสียชีวิตของผู้เอาประกัน สิ่งแรก เราต้องทำการ “แจ้งตาย” ให้ถูกต้องครับ การแจ้งตาย มี 2 กรณีหลักๆ จำง่ายๆ เลย
กรณี 1. เสียชีวิตในสถานพยาบาล
หลังจากที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต แพทย์จะออก หนังสือรับรองการตาย หรือที่เรียกว่า ใบ ท.ร.4/1 ให้แก่ญาติ
กรณี 2. เสียชีวิตนอกสถานพยาบาลแบ่งย่อยเป็น 2 กรณี
  • เสียชีวิตในบ้านและนอกบ้าน
การเสียชีวิตในบ้าน ผู้แจ้งตายซึ่งอาจจะเป็นเจ้าของบ้านที่มีคนเสียชีวิต ผู้พบศพ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้แจ้งตาย จะต้องแจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เสียชีวิต หรือพบศพ
  • การเสียชีวิตนอกบ้าน ผู้พบศพ จะต้องรีบแจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมงหลังพบศพ
ส่วนเรื่องสถานที่แจ้งตาย กรณีอยู่ในเขตเทศบาล สามารถแจ้งที่สำนักงานเขตเทศบาลได้เลยอันนี้จะไม่ได้รับ ท.ร. 4 ตอนหน้า หรือหลักฐานรับแจ้งตาย ถ้ากรณีอยู่ในเขตท้องที่ที่ว่าการอำเภอ ให้แจ้งไปที่ผู้ใหญ่บ้าน และเราก็จะได้หนังสือ ท.ร. 4 ตอนหน้า หรือหลักฐานรับแจ้งตาย หลังจากนั้นเราก็ไปแจ้งที่นายทะเบียน ณ เทศบาล หรืออำเภอ เพื่อขอใบมรณบัตร
เอกสารที่ต้องเตรียมไปยื่นขอใบมรณบัตร ได้แก่
  1. บัตรประชาชนผู้แจ้งตาย
  2. บัตรประชาชนผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)
  3. หลักฐานรับแจ้งตาย
  4. ‎ทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)
  5. ‎พยานรู้เห็นการเสียชีวิต (กรณีเสียชีวิตในบ้าน)
สุดท้ายจะได้ใบมรณะบัตรพร้อมจำหน่ายชื่อผู้เสียชีวิตออกจากทะเบียนบ้านเรียบร้อย
2. เตรียม & เช็คเอกสาร ก่อนเคลมประกันชีวิตการเตรียมเอกสารสำหรับยื่นเคลมประกันชีวิตจะต้องประกอบไปด้วยเอกสาร 2 ส่วน
ส่วนแรก คือ เอกสารของผู้เสียชีวิต ได้แก่
  1. สำเนาใบมรณบัตร
  2. สำเนาทะเบียนบ้านประทับตรา “ตาย”
  3. สำเนาบัตรประชาชน (ผู้รับผลประโยชน์รับรองสำเนาถูกต้อง)
  4. กรมธรรม์ประกันภัยหรือหนังสือรับรองการประกันภัย
  5. แบบเรียกร้องสินไหมมรณกรรม (ฟอร์มบริษัท)
  6. สำเนาบันทึกประจำวัน รับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ (กรณีเสียชีวิตผิดธรรมชาติ)
  7. สำเนารายงานการชนสูตรพลิกศพ (กรณีเสียชีวิตผิดธรรมชาติ)
  8. สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
ส่วนที่สอง คือ เอกสารของผู้รับผลประโยชน์ ได้แก่
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์ทุกคน หรือผู้จัดการมรดก หรือผู้แทนโดยชอบธรรม
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับผลประโยชน์ทุกคน หรือผู้จัดการมรดก หรือผู้แทนโดยชอบธรรม
  • สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
3. ยื่นเอกสารเคลมประกันชีวิต
หลังจากเตรียมเอกสารต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถยื่นเคลมประกันชีวิตได้เลยโดยอาจจะติดต่อไปที่ตัวแทนขายประกันที่ดูแลเจ้าของประกันอยู่ หรือติดต่อไปที่บริษัทประกันก็ได้
4. รอรับเงินสินไหมจากประกันชีวิต
เมื่อยื่นเอกสารแก่บริษัทประกันชีวิตเรียบร้อยแล้วก็รอการดำเนินการจากบริษัทประกันชีวิตนั้น เพื่อจ่ายเงินสินไหมประกันชีวิตให้ผู้รับผลประโยชน์
ประกันชีวิตอาจดูเหมือนเป็นมรดกลมที่เราจับต้องไม่ได้ ณ ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ แต่เชื่อเถอะในวันหนึ่งมรดกชิ้นนี้จะช่วยดูแลคนที่เรารักอย่างที่เราวาดฝันไว้ได้ ค้นหา และเปรียบเทียบแบบประกันชีวิตที่ใช่ได้ที่ noon.in.th

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะบทความนี้มีคำตอบ

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน