2 นาที

ยื่นภาษีไปแล้ว ตรวจสอบเงินคืนภาษีได้ที่ไหน

แชร์

สำหรับกรณีผู้ที่มี “เงินคืนภาษี” การยื่นและชำระภาษีแต่เนิ่นๆ อาจช่วยให้มีโอกาสได้รับเงินคืนภาษีเร็วขึ้น เพราะแบบฯ ยื่นภาษีจะถึงมือและได้รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่เร็วขึ้น และหากไม่มีข้อผิดพลาดอันใดหรือต้องส่งเอกสารอะไรเพิ่มเติม เราก็จะได้รับเงินคืนภาษีภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่สรรพากรได้รับคำร้องขอคืนเงินภาษี แต่หากใครที่ต้องการเช็คให้ชัวร์ว่าเงินคืนภาษีของเรานั้นอยู่ในสถานะไหนแล้ว วันนี้ noon มีวิธีตรวจสอบสถานะเงินคืนภาษีอย่างละเอียดและเข้าใจง่ายมาฝากกัน 

ยื่นภาษี
ช่องทางตรวจสอบเงินคืนภาษี 
คืนภาษี
1.ระบบ my tax account ของกรมสรรพากร
Step 1 – เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร แล้วไปที่ my tax account
เงินคืนภาษี
Step 2 – ลงชื่อเข้าใช้ระบบ my tax account
ระบบจะแสดงสถานะการยื่นภาษีของเราอัตโนมัติว่า ณ ปัจจุบันอยู่ในสถานะใด
เงินคืนภาษี
2.โทร 1161 ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (RD  Call  Center)  
3.สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏตามการยื่นแบบฯ    
คืนภาษี

ปัจจัยไหนบ้างที่ทำให้เราได้เงินคืนภาษีช้า 
การยื่นหรือชำระภาษีแต่เนิ่นๆ อาจช่วยให้เราได้รับเงินคืนภาษีเร็ว แต่อย่าเพิ่งชะล่าใจไป เพราะอาจมีปัจจัย หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ซึ่งส่งผลให้การคืนเงินภาษีล่าช้ากว่าที่คาดหวังไว้ 

1.เอกสารไม่ครบถ้วน 
หากยื่นแบบฯ ไปแล้ว แต่เอกสารไม่ครบถ้วน ทางสรรพากรจะติดต่อเพื่อขอเอกสารเพิ่มเติม ซึ่งผู้ยื่นภาษีส่วนใหญ่มักไม่รู้ ทำให้การตรวจสอบแบบฯ ยื่นภาษีเป็นไปอย่างล่าช้าส่งผลให้รอบการคืนภาษีของเราถูกขัยบออกไปเรื่อยๆ  
2.กรอกข้อมูลตกหล่น หรือไม่ครบ 
การกรอกข้อมูลในแบบยื่นภาษีเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากเรากรอกผิด หรือกรอกไม่ครบจะส่งผลให้ข้อมูลที่อยู่ในแบบฯ และข้อมูลที่สรรพากรมีไม่ตรงกันทำให้ต้องใช้เวลานานขึ้นในการตรวจสอบซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการรับเงินคืนภาษี 
3.ไม่มีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน 
พร้อมเพย์เป็นช่องทางที่เร็วที่สุดในการขอรับเงินคืนภาษี เนื่องจากการรับเงินผ่านช่องทางอื่นๆ สรรพากรจะต้องนำส่งหนังสือแจ้งเงินคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21) มาให้เราทางไปรษณีย์ และเราก็ต้องนำเอกสารฉบับนี้ไปที่ธนาคารเพื่อขอรับเงินคืนภาษีซึ่งทำให้ต้องรอเงินคืนภาษีนานขึ้น อีกทั้งยังเป็นเพิ่มขั้นตอนให้เกิดความยุ่งยาก 
เงินคืนภาษี
เงินคืนภาษี
4.กดยื่นแบบฯ หลายครั้ง 
การกดยื่นแบบฯ หลายๆ ครั้งก็เหมือนกับการที่เรายืนอยู่หน้าร้านหมูกระทะแล้วตัดสินใจเดินออกไปจากคิวที่ต่อ และจู่ๆ ก็เปลี่ยนใจกลับมาต่อคิวใหม่ ซึ่งอาจทำให้ได้ลำดับคิวที่ไกลกว่าเดิม เช่นเดียวกับการยื่นภาษี ยิ่งกดยื่นแบบฯ หลายครั้งก็ยิ่งส่งผลให้คิวการตรวจสอบแบบฯ ยื่นภาษีขยับออกไปเรื่อยๆ ยิ่งนานเท่าไหร่ก็ยิ่งได้เงินคืนภาษีช้าเท่านั้น 
คืนภาษี

ทำเรื่อขอ “เงินคืนภาษี”ตอนไหนได้บ้าง 
เราสามารถทำเรื่องขอคืนเงินภาษีได้ 2 ช่วง ดังนี้  
  1. ช่วงกันเหนียว: ทำเรื่องขอเงินคืนภาษีทันทีหลังจากยื่นภาษี  
  2. ช่วงรู้ตัวช้า : ยื่นภาษีไปนานแล้ว แต่เพิ่งรู้สึกตัวว่ามีเงินคืนภาษี ในกรณีนี้ให้ผู้ยื่นภาษีทำเรื่องขอเงินคืนภาษีกับสรรพากรได้เลย แต่มีเงื่อนไขว่าเงินคืนภาษีที่จะต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีนับจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดยื่นภาษี 
สบายใจเรื่องเงินคืนภาษีแล้ว ก็อย่าลืมวางแผนภาษีปี 66 นะ เพราะยิ่งพร้อมมากเท่าไหร่ก็อาจหมายถึงโอกาสที่จะได้รับเงินคืนภาษีเร็วขึ้นเท่านั้น 


เงินคืนภาษี


ขอบคุณแหล่งข้อมูล : thairath.co.th, itax.in.th, dlo.co.th, rd.go.th

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

มัดใจลูกค้าด้วย 4 เทคนิคการบริการแบบ Personalize ที่ยังไงก็ปัง

การบริการด้วยการสร้างประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคล (Personalize) กำลังเป็นกลยุทธ์ที่ใครๆ ก็ต่างให้ความสนใจ เพราะการบริการแบบเฉพาะบุคคลนี้จะช่วยให้เราสามารถเพิ่มจำวนลูกค้าประจำได้มากขึ้น รวมไปถึงช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน

5 เทคนิคเลือกประกันรถยนต์สำหรับมือใหม่หัดขับ

มนุษย์เงินเดือนหลาบๆ ท่านพอเริ่มทำงานมาซักระยะหนึ่งก็เริ่มฝันที่อยากจะมีรถยนต์เป็นของตัวเอง และยิ่งหากเป็นมือหัดขับใหม่แล้วด้วย การทำประกันรถยนต์ยิ่งเป็นเรื่องที่ต้องห้ามลืมเด็ดขาด เพราะช่วยให้เราเบาใจในเรื่องของค่าใช้จ่ายค่าซ่อมแซม หากเราบังเอิญขับชน หรือเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด แต่การเลือกประกันรถยนต์ที่ตอบโจทย์อาจทำให้เราเครซี่ได้ วันนี้เราเลยนำเทคนิคการเลือกประกันรถยนต์สำหรับมือใหม่มาฝากกัน