3 นาที

ประกันสุขภาพแบบไหนที่ใช่เรา

แชร์

ตั้งแต่ปี 64 จนกลางปี 65 โรคภัยไข้เจ็บก็ยังแวะมาทักทายกันอย่างต่อเนื่องไม่มีหยุดหย่อนจนเงินเดือนจะเหลือเป็นเงินทอนอยู่แล้ว หนำซ้ำต้นทุนค่ารักษายังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่มีหยุดหย่อน หากมีแต่ความคุ้มครองขากหลักประกันสุขภาพของรัฐเพียงอย่างก็อาจไม่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้  

การมีหลักประกันสุขภาพทางเลือก อย่าง “ประกันสุขภาพ” อาจช่วยให้ความมั่นคงทางการเงินของเราไม่สั่นคลอน แถมยังทำให้มีอิสรภาพในการเลือกสถานพยาบาลเพื่อข้ารับการรักษา แต่ก่อนที่จะกดเบอร์โทรหาตัวแทนประกัน เราอยากพาทุกคนไปทำความจักกับประกันสุขภาพกันให้มากขึ้น เพราะยิ่งเข้าใจประกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งลดโอกาสในจะซื้อแบบประกันที่ไม่ตอบโจทย์มากเท่านั้น 


type-health-insurance


ประกันสุขภาพ คือการประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่าย (ค่ารักษา) ที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้เอาประกันภัยไม่ว่าค่าใช้จ่าย (ค่ารักษา) นั้นจะเกิดจากเจ็บป่วยด้วยโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ และปัจจุบันการซื้อประกันสุขภาพนั้นก็สะดวกสบายมากขึ้น เพราะสามารถซื้อประกันสุขภาพได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่ง noon.in.th ก็เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือทางด้านบริการประกัน และมีระบบที่โดดเด่นซึ่งจะช่วยวิเคราะห์ และแนะนำแบบกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าจะเสียเงินซื้อแบบประกันสุขภาพที่ไม่ตอบโจทย์


type-health-insurance

ประกันสุขภาพมีกี่ประเภท 

ประกันสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ประกันสุขภาพแบบหมู่คณะ(มีผู้เอาประกันภัยตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป) และประกันสุขภาพแบบรายบุคคล (มีผู้เอาประกันภัยคนเดียว) ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้มีหมวดความคุ้มครองที่เหมือนกัน ดังนี้ 

1.ให้ความคุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เพราะการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการป่วยไข้ โดยจะชดเชยค่าใช้จ่ายอันเกิดจาก                

  • ค่าห้องและค่าอาหาร 
  • ค่าบริการทั่วไป 
  • ค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หลังการเกิดอุบัติเหตุ 

2.ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการผ่าตัด ค่าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด 

3.ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการให้แพทย์มาดูแล 

4.ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาที่คลีนิค หรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล 

5.ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร 

6.ค่าใช้จ่ายในการรักษาฟัน 

7.การชดเชยค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจากการบริการโดยพยาบาลพิเศษขณะอยู่ในโรงพยาบาล หรือที่บ้านภายหลังจากการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์



ประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพมีกี่แบบ 

ปัจจุบันแบบของประกันสุขภาพมีหลากหลายมาก แต่แบบแผนที่มักเป็นที่นิยมมีหลักๆ ดังนี้ 

1.ประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยใน (IPD) คือแบบประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่าผู้เอาประกันภัยต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ายา ค่าแพทย์เยี่ยม ค่าผ่าตัด ค่ารถพยาบาลและอุปกรณ์อื่นๆ บริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบแทนผู้เอาประกันภัย 


2.ประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยนอก (OPD) คือแบบประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือคลินิก แต่ไม่ต้องนอนพัก อาทิเช่น อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยที่แค่รับยา หรือทำแผลแล้วสามารถกลับบ้านได้เลย เหมาะกับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่ต้องการมีประกันสุขภาพไว้เพื่อแบ่งเบาภาระค่ารักษาในกรณีที่เหตุฉุกเฉิน อาทิเช่นประสบอุบัติเหตุขาหัก หรือแขนหัก เป็นต้น 


3.ประกันสุขภาพชดเชยรายได้ (HB) คือแบบประกันสุขภาพที่จะจ่ายชดเชยรายได้ให้แก่ผู้เอาประกันในกรณีที่ต้องนอนพักฟื้นในโรงพยาบาล 


4. ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (ECIR)
คือแบบประกันสุขภาพที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความคุ้มครองให้ครอบคลุมการเจ็บป่วยด้วยโรคร้าย ซึ่งเป็นโรคที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษา อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายสูง อย่างเช่น เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ หากเราได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกเมื่อไหร่ว่าว่าป่วยเป็นโรคร้ายแรง บริษัทประกันก็จะทำการจ่ายเงินผลประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ให้แก่เรา ยกตัวอย่างเช่น นาย noon ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ประกันสุขภาพก็จะจ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่นาย noon ทันที 1 ก้อนเพื่อนำไปใช้เป็นค่ารักษาต่อไป


หวังว่าทุกคนคงจะเข้าใจประกันสุขภาพกันมากขึ้นแล้ว แต่เอ๊ะ! แบบของของประกันสุขภาพมีมากมายเหลือคณานับ แล้วแบบไหนล่ะที่เหมาะ และตอบโจทย์จริงๆ  ซึ่งวันนี้โอกาสทองมาถึงแล้ว เพราะเราได้อัญเชิญเทพ เทวดาทั้ง 8 ทิศมาช่วยปลุกเสกคาถาเลือกซื้อประกันสุขภาพอย่างไรให้ปัง รับรองท่องแล้วมีแต่คุ้มกับคุ้ม  



type-health-insurance


ท่องให้ขึ้นใจ‼ คาถามหาอุตม์เลือกซื้อประกันสุขภาพสุดปัง


L = (Lifestyle) รูปแบบการดำเนินชีวิต 

การดำเนินชีวิตของคนเราทุกคนมีความแตกต่างกัน แต่ที่แน่ๆ คือทุกคนมีความเสี่ยง ขึ้นอยู่ว่าจะเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยแค่ไหนก็แค่นั้นเอง ความเสี่ยงของดำเนินชีวิตของเราเนี่ยแหละจะเป็นตัวแปรสำคัญที่นำมาใช้วิเคราะห์ว่าประกันตัวไหนที่เหมาะสมกับเรา และสามารถตอบสนองกับความเสี่ยงของเราได้ดีที่สุด ยกตัวอย่างเช่น มนุษย์สายปิ้งย่างทั้งหลายที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร เนื่องจากว่าการปิ้ง ย่าง หรือทอดเนื้อสัตว์ที่ใช้ความร้อนสูงจะก่อให้เกิดสารอะคริลาไมด์ (Acrylamide) ที่เป็นตัวการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ซึ่งแน่ๆ ล่ะโรคนี้ค่าใช้จ่ายสูงในการรักษาสูงแน่นอนดังนั้นการทำประกันชีวิตโรคร้ายแรงก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะช่วยเราแบ่งเบาภาระเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาโรคร้าย อย่างเช่นมะเร็งได้ 


O = (Observe) สังเกต 

ก่อนที่จะทำประกันสุขภาพสักตัว เราควรสังเกต และสำรวจเสียก่อนว่าค่ารักษา ค่าหมอ หรือค่าบริการอื่นๆ ของโรงพยาบาลที่เราอยากจะเข้าไปใช้บริการอยู่ในเกณฑ์ไหน ซึ่งเกณฑ์ตรงนี้นี่แหละจะเป็นตัวชี้วัดว่าเราควรเลือกทำประกันสุขภาพแบบใด ซึ่งจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราเข้าไปรับการรักษาในโรงพยาบาลนั้นๆ เพื่อเป็นการป้องกันตัวเราเองไม่ให้จ่ายค่าเบี้ยประกันที่สูงเกินกว่าความจำเป็น ก็เหมือนกับสุภาษิตที่ว่า รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ก็ชนะร้อยครั้ง 


V = (Veracious) เชื่อถือได้ 

ความน่าเชื่อถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกซื้ออะไรสักอย่าง ซึ่งการทำประกันสุขภาพเองก็เช่นกัน นอกเหนือจากความคุ้มครองที่จะได้รับแล้ว ความน่าเชื่อถือของตัวบริษัทประกัน หรือตัวแทนก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันเลย หากเราได้บริษัทประกันที่มีความมั่นคง ไม่บิดพลิ้วใส่บวกกับการได้ทำประกันกับตัวแทนที่ดูแลดี ส่งเรื่องเคลมไวก็จะส่งผลดีต่อเราเอง ซึ่งการหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทประกัน หรือตัวแทนว่าเจ้าไหนเด็ด แนะนำให้ไปสอบถามกับคนที่เคยทำประกันสุขภาพมาก่อน หรือจะเข้ามาซื้อประกันสุขภาพผ่าน noon.in.th ก็ได้นะ เพราะตัวแทนที่เราคัดสรรมานั้นผ่านการคัดเลือกมาแล้วอย่างดี รับรองว่าสบายใจหายห่วง 


E = (Elect) เลือก 

หลักจากที่เรารู้แล้วว่าอยากจะทำประกันสุขภาพแบบไหนแล้ว ให้ลองหาข้อมูลดูดีๆ ว่ามีบริษัทไหนบ้างที่มีประกันสุขภาพในลักษณะเดียวกับที่เราอยากทำ ซึ่งในปัจจุบันนี้บริษัทประกันมีเยอะแยะมากมาย บางที่ก็ออกกรมธรรม์มาคล้ายๆกัน แต่อาจมีความแตกต่างในเรื่องของเบี้ยประกัน หรือวงเงินคุ้มครอง ซึ่งเราสามารถเอาข้อมูลตรงนี้มาชนกันไปเลยว่ากรมธรรม์ไหนดีที่สุด บางที่อาจคุ้มครองเท่ากันแต่กลับต้องจ่ายเบี้ยประกันสูงกว่าอีกอันนึง ดังนั้นต้องเลือกสรร และคัดสรรกันให้ดี ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เหอะการจ่ายเบี้ยประก็ต้องขึ้นกับสามารถของเราด้วยนะว่าสู้ได้แค่ไหน ทางที่ดีไม่ควรเกิน 10%-15% ของรายได้รวมต่อปี



หลักจากที่เรารู้แล้วว่าอยากจะทำประกันสุขภาพแบบไหนแล้ว ให้ลองหาข้อมูลดูดีๆ ว่ามีบริษัทไหนบ้างที่มีประกันสุขภาพในลักษณะเดียวกับที่เราอยากทำ ซึ่งในปัจจุบันนี้บริษัทประกันมีเยอะแยะมากมาย บางที่ก็ออกกรมธรรม์มาคล้ายๆ กัน แต่อาจมีความแตกต่างในเรื่องของเบี้ยประกัน หรือวงเงินคุ้มครอง ซึ่งเราสามารถเอาข้อมูลตรงนี้มาชนกันไปเลยว่ากรมธรรม์ไหนดีที่สุด บางที่อาจคุ้มครองเท่ากันแต่กลับต้องจ่ายเบี้ยประกันสูงกว่าอีกกรมธรรม์หนึ่ง หรือจะใช้เครื่องมือที่มีฟังก์ชันช่วยเปรียบเทียบแบบประกันอย่าง noon.in.th เข้ามาช่วยก็ได้ ลดทั้งเวลา และความวุ่นวาย ซื้อประกันที่ตรงใจได้ง่ายๆ เพียงแต่ไม่กี่ขั้นตอน 


การซื้อประกันสุขภาพเราจำเป็นจะต้องเลือกสรร และคัดสรรกันให้ดี และที่สำคัญคือเบี้ยประกันก็ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่เราสามารถจ่ายไหวด้วยเช่นกัน ทางที่ดีไม่ควรเกิน 10%-15% ของรายได้รวมต่อปี 


เห็นไหมล่ะว่าการเลือกซื้อประกันสุขภาพไม่ยากอย่างที่คิด ขอแค่ทำตามคาถานี้ก็ไม่ต้องเป็นกังวลแล้ว แต่ถ้าอยากให้ชีวิตง่ายขึ้นไปอีกสเต็ปลองมาซื้อประกันสุขภาพผ่าน noon ดูซิ แล้วจะรู้ว่าประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์หาไม่ยากอย่างที่คิด คลิกเลยที่ noon.in.th 

ประกันสุขภาพ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล :oic.or.th, philliplife.com, oic.or.th, oic.or.th, honestdocs.com

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน

4 ทริคทำอย่างไรให้ได้เงินคืนภาษีไวแบบไม่คาดคิด

ยื่นภาษีไปนานแล้ว แต่ทำไมยังไม่ได้เงินคืนภาษี ไม่อยากพบเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ เรา 4 ทริคเด็ดที่อาจช่วยให้คุณได้เงินคืนภาษีไวกว่าที่เคย