2 นาที

น้ำท่วมบ้าน ประกันบ้านคุ้มครองอะไรบ้าง

แชร์

ที่อยู่อาศัย หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า “บ้าน” เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ใฝ่ฝัน หรือฝ่าฟันอยากจะมี ซึ่งการดูแลรักษาทรัพย์สินเหล่านี้นั้นไม่ง่ายเลย เพราะว่าต้องต่อสู้กับภัยต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นภัยจากธรรมชาติ อย่างเช่น น้ำท่วม หรือภัยที่มาจากฝีมือมนุษย์ด้วยกันเอง ภัยเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ที่อยู่อาศัย ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียเงินทองจำนวนมหาศาลในการซ่อมแซม แต่ทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ และทางออกของสถานการณ์นี้ก็คือ “การทำประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน”

“ประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน” มีจุดประสงค์หลักเพื่อให้ความคุ้มครองเจ้าของอาคาร ประเภทที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว สำนักงานในบ้าน หรือคอนโดมิเนียม โดยสามารถแบ่งความคุ้มครองได้ 5 หมวด

ประกันภัยบ้าน
หมวดที่ 1 ความคุ้มครองต่ออาคาร 
บริษัทประกันจะชดใช้ค่าเสียหาย (ค่าสินไหมทดแทน) ให้ในกรณีที่อาคารได้รับความเสียหายจากภัยเหล่านี้
  • อัคคีภัย แผ่นดินไหว ฟ้าผ่า น้ำท่วม การไหลล้นหรือการระเบิดของแท้งค์น้ำ พายุเฮอริเคน พายุไซโคลน พายุใต้ฝุ่น หรือลมพายุ
  • การระเบิด
  • อุปกรณ์ส่วนควบของแท้งค์น้ำหรือท่อน้ำ
  • อากาศยาน หรือสิ่งของจากอากาศยาน หล่นใส่อาคาร
  • การถูกชนจากพาหนะทางบก เช่น รถยนต์ ม้า หรือปศุสัตว์ต่างๆ ซึ่งผู้เอาประกันภัย หรือสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ด้วยกัน ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือดูแลอยู่
  • การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์ หรือความพยายามการลักทรัพย์โดยใช้กำลังรุนแรงเพื่อเข้าไป หรือออกจากอาคาร

หมวดที่ 2 ความคุ้มครองต่อทรัพย์สินในอาคาร
บริษัทประกันจะชดใช้ค่าเสียหาย (ค่าสินไหมทดแทน) ให้ในกรณีที่ทรัพย์สินภายในอาคารของเราได้รับความเสียหายจากภัยเหล่านี้
  • อัคคีภัย แผ่นดินไหว ฟ้าผ่า น้ำท่วม การไหลล้นหรือการระเบิดของแท้งค์น้ำ พายุเฮอริเคน พายุไซโคลน พายุใต้ฝุ่น หรือลมพายุ
  • การระเบิด
  • อุปกรณ์ส่วนควบของแท้งค์น้ำหรือท่อน้ำ
  • อากาศยาน หรือสิ่งของจากอากาศยาน หล่นใส่อาคาร
  • การถูกชนจากพาหนะทางบก เช่น รถยนต์ ม้า หรือปศุสัตว์ต่างๆ ซึ่งผู้เอาประกันภัย หรือสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ด้วยกัน ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือดูแลอยู่
  • การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์ หรือความพยายามการลักทรัพย์โดยใช้กำลังรุนแรงเพื่อเข้าไป หรือออกจากอาคาร
หมวดที่ 3 ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราวและการสูญเสียค่าเช่า
หากอาคารที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายจากภัยที่ได้กล่าวมาข้างต้น จนไม่สามารถพักอาศัยได้ ทางบริษัทประกันจะดำเนินการหาที่พักชั่วคราว หรือจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัยเพื่อนำไปเช่าที่พักอาศัยอยู่จนกว่าอาคารนั้นจะซ่อมเสร็จ
หมวดที่ 4 คุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
หากที่อยู่อาศัยของเราสร้างความเสียหายให้แก่บุคคลภายนอก บริษัทประกันจะชดเชยค่าสินไหมแทนเรา (ผู้เอาประกันภัย) โดยแบ่งความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกได้ 2 กรณี ดังนี้
  • ความรับผิดต่อร่างกายของบุคคลภายนอก เช่น การเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ความบาดเจ็บต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่น นายเอเดินชนเสาบ้าน(เรา) จนถึงแก่ชีวิต บริษัทประกันก็จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ครอบครัวของนายเอแทนเรา
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในอาคาร หรือเกี่ยวข้องกับอาคารตัวอย่างเช่น รถยนต์ของนายเอโดนเสาบ้าน(เรา) หล่นใส่จนต้องนำไปซ่อม บริษัทประกันก็จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายเอเพื่อนำเงินส่วนนี้ไปใช้ในการซ่อมแซมรถ

หมวดที่ 5 ความคุ้มครองสำหรับเงินชดเชยการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย
หากเรา(ผู้เอาประกันภัย) ประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิตทันที หรือได้รับบาดเจ็บจากจากภัยซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ประกันคุ้มครอง ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตภายใน 180 วัน นับจากวันเกิดอุบัติเหตุขณะที่อยู่ภายในอาคารที่ทำประกันภัยไว้ บริษัทประกันจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ 
ตัวอย่างเช่น เกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลัน เราไม่สามารถหนีออกจากบ้านที่ทำประกันไว้ได้ทันทำให้จมน้ำเสียชีวิตทันที ทางบริษัทก็จะจ่ายเงินสินไหมชดเชยให้แก่ผู้รับผลโยชน์ที่เราระบุไว้ในกรมธรรม์

ขอบคุณแหล่งที่มา

สำนักงานคณะกรรมกากำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

น้ำท่วมบ้านเสียหายหนัก เคลมประกันภัยบ้านอย่างไรดี

ไฟไหม้ หรือน้ำท่วมเฉียบพลันเป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่สามารถสร้างความสูญเสีย "บ้าน” ของเราได้อย่างมากมาย แต่ถ้าใครที่ทำประกันภัยบ้านไว้ก็ก็ไม่ต้องกังวล เพราะประกันนี้จะช่วยเราแบ่งเบาภาระค่าซ่อมแซมบ้านให้ ซึ่งวิธีการเคลมประกันภัยบ้านนั้นก็ง่ายแสนง่ายมีเพียง 7 ขั้นตอนเท่านั้น

เริ่มทำประกันสุขภาพตอนไหนดี?

การทำประกันสุขภาพถือเป็นการตัดสินใจที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการความมั่นคงทางชีวิตและการเงินที่มีผลประโยชน์ในระยะยาว แต่จะเวลาไหนถึงควรจะทำประกันสุขภาพดีล่ะ? พอไปปรึกษาเพื่อนหรือครอบครัว บางคนก็บอกว่าให้ทำประกันตั้งแต่เด็กเลยเพราะเบี้ยน้อย บางคนก็บอกว่ารอให้มีทุนก่อนดีกว่าไม่อย่างนั้นอาจจะเข้าเนื้อ คิดไปคิดมาก็ยังตัดสินใจไม่ได้สักทีว่าแล้วมันควรทำตอนไหนดี วันนี้เราจะมาพาทุกคนไปดูแนวทางที่ใช้พิจารณาในการตัดสินใจเริ่มทำประกันสุขภาพกันเพื่อให้ได้ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดกันค่ะ