3 นาที

รับมืออย่างไรให้ปลอดภัยจาก 6 โรคร้ายตามฤดูกาล

แชร์

เมื่อฤดูกาลหนึ่งผันแปรไปอีกฤดูกาลหนึ่งก็เข้ามาแทนที่หมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะว่ามันคือสัจธรรมของธรรมชาติ และนอกเหนือจากความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติแล้ว ก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไปด้วยนั่นก็คือ โรคร้ายๆ ซึ่งแต่ละฤดูกาลก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้

ฤดูฝน

2019-Aug-7-1-resvn-1.jpg

ไข้หวัดใหญ่

สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 

อาการ ผู้ที่ป่วยจะมีอการคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป แต่จะรุนแรงกว่า มีไข้สูงเกิน 39 – 40 องศาเซลเซียสติดต่อกันหลายวัน และอาจมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็กโต หรือผู้ใหญ่จะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลียอย่างรุนแรงด้วย 

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือ ภาวะแทรกซ้อน อย่าง โรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ โดยส่วนใหญ่แล้วมักพบในผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น

วิธีการรักษาเบื้องต้น (อาการไม่หนักมาก) 

  • หากมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามใบหน้าและลำตัว
  • รับประทานพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ และหลีกเลี่ยงยากลุ่มแอสไพลิน
  • หากมีน้ำมูกใช้ยาลดน้ำมูก และยาละลายเสมหะ

**ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 3 วันให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วนนะ

โรคไข้เลือดออก

สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส “เด็งกี่” (Dengue) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ไข้เลือดออกนั้นนับเป็นโรคที่รุนแรงมาก หากรักษาไม่ทันอาจอันตรายถึงชีวิตได้

อาการ แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล แต่อาการพื้นฐานคือ มีไข้คล้ายกับหวัดทั่วไป ตัวร้อน อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ความดันโลหิตต่ำ ท้องเสีย และปวดตา เป็นต้น สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงจะมีเลือดออกบริเวณผิวหนัง เป็นจุดเล็กๆ รวมถึงอวัยวะภายใน เช่น ทางอาหาร เป็นต้น บางรายมีอาการอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หนักสุดคือ เกิดภาวะช็อกซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิตได้

วิธีการรักษาเบื้องต้น (อาการไม่หนักมาก) 

  • ดื่มน้ำผลไม้ หรือเกลือแร่เยอะๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อลดไข้เป็นระยะๆ 
  • รับประทานอาหารอ่อน
  • รับประทานพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ (ปริมาณตามที่แพทย์สั่ง) หลีกเลี่ยงยากลุ่มแอสไพลินและยากลุ่ม NSAID 

**หากอาเจียนหนัก มีอาการปวดท้อง ไข้ลดอย่างรวดเร็ว ตัวเย็นผิดปกติ ไม่ปัสสาวะนาน 6 ชั่วโมง ไปพบแพทย์โดยด่วน

 

ฤดูร้อน

2019-Aug-7-1-resvn-3.jpg

โรคอาหารเป็นพิษ

สาเหตุ เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือไข่ตัวอ่อนหนอนพยาธิที่อยู่ในอาหาร

อาการ แตกต่างกันไปตามปริมาณเชื้อที่ได้รับ โดยทั่วไปจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ปวดท้อง และถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ

วิธีการรักษาเบื้องต้น (อาการไม่หนัก) 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำ หรือจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำของร่างกาย
  • รับประทานยาแก้ท้องเสีย
  • ดื่มน้ำผสมเกลือแร่ต่างๆ เพื่อทดแทนน้ำ และเกลือแร่ที่เสียไป

**หากมีอาการท้องเสียรุนแรงต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเกิดสภาวะช็อกและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

อหิวาตกโรค

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี (Vibrio Cholerae) ที่แฝงตัวมากับอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อน ซึ่งหากรับประทานเข้าไปเจ้าแบคทีเรียตัวนี้จะไปกระตุ้นให้ร่างกายของเราขับน้ำออกมาและนำไปสู่อาการท้องเสียในที่สุด

อาการ ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ประสบสภาวะขาดน้ำ เป็นตะคริว ความดันโลหิตต่ำ และเกิดอาจภาวะแทรกซ้อน อย่าง อาการช็อก เป็นต้น

วิธีการรักษา

ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาทันที เพราะอาจเกิดอาการช็อกจากร่างกายขาดน้ำได้

  • ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อยๆ 
  • ให้สารน้ำทดแทน
  • ใช้ยาปฏิชีวนะ
  • ให้แร่ธาตุสังกะสี เนื่องจากสามารถช่วยชะลออาการท้องเสียได้

 

ฤดูหนาว

2019-Aug-7-1-resvn-5.jpg

โรคหัด

สาเหตุ เกิดจากการหายใจเอากาศที่ปนเปื้อน เชื้อไวรัส”รูบีโอราไวรัส” (Rubeola virus) เข้าไป 

อาการ ผู้ป่วยโรคหัดจะมีอาการคล้ายๆ กับไข้หวัดทั่วไป บางรายก็อาจถ่ายเหลว หรือตาแดงร่วมด้วย อีกทั้งยังมีไข้สูง 3- 4 วันจากนั้นจะมีผื่นสีแดงขึ้นตามร่างกาย แต่อาการเด่นๆ ของโรคนี้คือ ผู้ป่วยมักมีตุ่มใสๆ ขึ้นในปากตรงกระพุ้งแก้ม และฟันกราม หลังจากที่ผื่นขึ้นประมาณ 2- 3 วัน อาการก็จะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติในที่สุด แต่ต้องระวังโรคแทรกซ้อน อย่างเช่น โรคสมองอักเสบ หรือปอดบวมให้ดี

วิธีการรักษา (เบื้องต้น) 

  • หากเป็นไข้หวัดสามารถรับประทานยาลดไข้ได้
  • ดื่มน้ำมากๆ 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

โรคมือเท้าปาก

สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร (Enterovirus) ซึ่งโรคนี้จะพบมากในฤดูฝนและฤดูหนาว หรือช่วงที่มีอากาศร้อนชื้น

อาการ เริ่มแรกจะมีไข้ ตามมาด้วยแผลที่ปาก และผื่นที่บริเวณมือและเท้า ลักษณะเป็นตุ่มแดงๆ หรือบางครั้งก็เป็นตุ่มน้ำใส ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักหายได้เองภายใน 5-7 วัน แต่ถ้ามีภาวะแทรกซ้อน อย่างก้านสมองอักเสบก็อาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต ผู้ดูแลต้องเฝ้าระวัง และคอยสังเกตให้ดี

วิธีการรักษา

  • หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้
  • หากมีอาการคันให้รับประทานยาแก้แพ้

**เน้นเป็นการรักษาตามอาการไป เพราะโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

โรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องที่น่ากลัว ถ้ามัวแต่คิดว่าเราไม่มีวันเป็นหรอกแข็งแรงจะตาย บอกเลยว่า ตกม้าตายกันมาหลายคนแล้วค่ะ ดังนั้นเตรียมแผนรับมือ หรือแผนป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ต้องมานั่งเงิบเมื่อยามภัยมา

เจ็บกาย แต่กระเป๋าตังค์ยังสบาย ด้วยประกันสุขภาพ คลิกเลย!!!

 

ขอบคุณที่มาดี๊ดี

โรงพยาบาลกรุงเทพม, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

honestdocs, pobpad

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะบทความนี้มีคำตอบ

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน