2 นาที

ไม่อยากเสียใจ อ่านสิ่งนี้ก่อนเลือกทำประกันชีวิตผู้สูงอายุให้พ่อ-แม่

แชร์

Highlights

  • 💡 ประกันชีวิตผู้สูงอายุ คือประกันที่เน้นคุ้มครองชีวิตผู้มีอายุ 50–70 ปี โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • ⚖️ แบ่งเป็น 2 ประเภท: คุ้มครองชีวิต (จ่ายเมื่อเสียชีวิต) และแบบสะสมทรัพย์ (เงินออม/มรดก)
  • 🧾 มีเงื่อนไขการจ่ายชดเชยเฉพาะกรณี และอาจมีข้อจำกัดหากเสียชีวิตในช่วง 2 ปีแรก

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเต็มตัวแล้ว

ปัจจุบันเทรนด์ทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย และประเทศไทยเองก็ไม่ต่างกัน เมื่อสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะพ่อแม่ เริ่มมีอายุเพิ่มมากขึ้น ความเสี่ยงด้านสุขภาพก็ตามมา การวางแผนดูแลท่านจึงไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในเรื่องของ หากคุณกำลังมองหาวิธีวางแผนดูแลพ่อแม่ในยามแก่เฒ่า การทำ ประกันชีวิตผู้สูงอายุ ถือเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยเพิ่มความอุ่นใจทั้งกับผู้ทำประกันและครอบครัวของคุณ อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาเงื่อนไขให้ละเอียด เลือกแผนที่เหมาะกับงบประมาณและเป้าหมายของคุณให้ดี แล้วคุณจะได้รับ “ความคุ้มครอง” พร้อม “ความสบายใจ” ไปพร้อมกัน ที่สามารถช่วยรองรับค่าใช้จ่ายในอนาคต และเป็นหลักประกันที่มั่นคงให้กับครอบครัว

ประกันชีวิตผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุกับประกันชีวิตแบบทั่วไปแตกต่างกันอย่างไร 
หากจะกล่าวให้เข้าใจอย่างรวบรัด ประกันชีวิตผู้สูงวัยก็คือประกันชีวิตรูปแบบหนึ่ง แต่จะมีความเฉพาะเจาะจงกว่าตรงที่ให้ความคุ้มครองผู้สูงอายุ ที่มีอายุระหว่าง 50-70 ปี ในกรณีที่เสียชีวิตเป็นหลัก ไม่ได้เน้นความคุ้มครองในเรื่องสุขภาพ หากพิจารณาในภาพรวมประกันชีวิตผู้สูงวัยกับประกันชีวิตแบบทั่วไปแทบไม่แตกต่างกัน เพราะต่างให้ความคุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิตเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ดีประกันชีวิตผู้สูงวัยกับประกันชีวิตแบบทั่วไปก็เป็นประกันชีวิตที่ต่างกัน โดยมีความแตกต่างกันในรายละเอียดดังนี้ 
1. แตกต่างในรายละเอียดความคุ้มครอง 
อย่างที่กล่าวไปประกันชีวิตทั้งสองแบบต่างให้ความคุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิต แต่ประกันชีวิตผู้สูงวัยจะมีรายละเอียดปลีกย่อยในความคุ้มครองแยกออกไป เพราะเป้าหมายที่แท้จริงของประกันชีวิตผู้สูงวัย ผู้ทำส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นเรื่องการดูแลสุขภาพหรืออุบัติเหตุมากนัก แต่จะให้ความสำคัญกับการเก็บออมทรัพย์สินไว้สำหรับอนาคต ถ้าลูกทำให้พ่อแม่ก็เหมือนเป็นเงินบำนาญให้กับท่านในภายหน้า หรือผู้ใหญ่ทำไว้ให้ตัวเองก็จะเก็บไว้เป็นมรดกของลูกหลาน เมื่อจุดประสงค์ของผู้ทำประกันเป็นเช่นนี้ ประกันชีวิตผู้สูงวัยจึงมีรูปแบบความคุ้มครองให้เลือกมากกว่าประกันชีวิตแบบทั่วไป โดยประกันชีวิตผู้สูงวัย จะแยกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ 
  • ประกันชีวิตผู้สูงวัยที่เน้นในเรื่องความคุ้มครองด้านชีวิต โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินชดเชยในกรณีเสียชีวิตเท่านั้น กรณีพิการหรือเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล จะไม่สามารถเบิกค่ารักษาได้ ยกเว้นแต่ซื้อสัญญาเพิ่มเติมพ่วงท้ายไว้ด้วย
  • ประกันชีวิตผู้สูงวัยที่เน้นเรื่องการสะสมทรัพย์ เป็นการเน้นการออมไว้เป็นเงินบำนาญหรือเงินมรดกสำหรับภายหน้า 
สำหรับเงื่อนไขในการจ่ายเงินชดเชยมีรายละเอียด ดังนี้
กรณีที่ต้องจ่ายชดเชยเงื่อนไขการจ่ายค่าชดเชย
เสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บในช่วง 2 ปีแรก จ่ายคืนเฉพาะเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว บวกด้วยผลตอบแทนเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 2%
เสียชีวิตจากอุบัติเหตุภายในช่วง 2 ปีแรก จ่ายตามจำนวนเงินเอาประกันภัยเต็มจำนวน พร้อมเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว บวกด้วยผลตอบแทนเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า 2%
เสียชีวิตตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป จ่ายตามจำนวนเงินเอาประกันภัยเต็มจำนวนในทุกกรณี ไม่ว่าจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุหรือจากโรคภัยไข้เจ็บก็ตาม
อยู่จนครบสัญญา จ่ายตามจำนวนเงินเอาประกันภัย
2. ไม่ต้องตรวจหรือตอบคำถามด้านสุขภาพ 
ประกันชีวิตผู้สูงวัยจะไม่ต้องตรวจหรือตอบคำถามด้านสุขภาพก่อนทำ จึงสามารถทำได้ง่ายกว่าประกันชีวิตทั่วไปที่ยังต้องมีการตรวจสุขภาพ ทั้งนี้การไม่ต้องตรวจสุขภาพก็เป็นทางออกที่ดีที่จะช่วยให้ผู้สูงวัยมีโอกาสทำประกันชีวิตได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ดังนั้นใครที่กำลังคิดจะซื้อประกันชีวิตผู้สูงวัยให้พ่อแม่และกำลังกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพของพวกท่านก็คงเบาใจเรื่องนี้ได้ในระดับหนึ่ง 
3. เบี้ยประกันสูงหรือผันแปรไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น 
ประกันชีวิตผู้สูงวัยมักจะมีเบี้ยประกันที่สูงกว่าประกันชีวิตทั่วไป และเบี้ยประกันจะสูงขึ้นผันแปรไปตามอายุของเจ้าของกรมธรรม์ เพราะผู้สูงอายุมักมีความเสี่ยงเรื่องสุขภาพเจ็บป่วยได้ง่าย จึงทำให้ประกันชีวิตผู้สูงวัยจำเป็นที่จะต้องมีการเก็บค่าเบี้ยประกันสูง หากคุณกำลังพิจารณาจะซื้อประกันชีวิตผู้สูงวัยให้กับพ่อแม่ จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะคุณเป็นคนซื้อ จึงต้องดูกำลังของตนเองว่าสามารถจะรับมือกับค่าเบี้ยประกันสูงหรืออาจผันแปรไปในอนาคตได้หรือไม่  
ข้อควรรู้ก่อนซื้อ ประกันชีวิตผู้สูงอายุ ให้พ่อแม่
ก่อนตัดสินใจซื้อ ควรศึกษารายละเอียดและเปรียบเทียบแผนประกันของแต่ละบริษัทให้รอบคอบ โดยเฉพาะในเรื่องเหล่านี้:
  • ✅ ความคุ้มครองครอบคลุมแค่ไหน? — ส่วนใหญ่คุ้มครองเฉพาะการเสียชีวิตจากโรคหรืออุบัติเหตุ ไม่ครอบคลุมค่ารักษาในโรงพยาบาล
  • ✅ เบี้ยประกันคงที่หรือผันแปร? — บางแผนเริ่มต้นเบี้ยไม่สูงแต่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ
  • ✅ จำนวนเงินเอาประกันคุ้มค่าหรือไม่? — ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเบี้ยที่จ่ายไปสอดคล้องกับความคุ้มครองที่ได้รับ
หากคุณกำลังมองหาวิธีวางแผนดูแลพ่อแม่ในยามแก่เฒ่า การทำ ประกันชีวิตผู้สูงอายุ ถือเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยเพิ่มความอุ่นใจทั้งกับผู้ทำประกันและครอบครัวของคุณ อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาเงื่อนไขให้ละเอียด เลือกแผนที่เหมาะกับงบประมาณและเป้าหมายของคุณให้ดี แล้วคุณจะได้รับ “ความคุ้มครอง” พร้อม “ความสบายใจ” ไปพร้อมกัน

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

มีงบก้อนเดียว ทำอะไรก่อนดี? ประกันชีวิต vs ประกันสุขภาพ

สำหรับคนเพิ่งเริ่มทำงาน หรือที่เรียกว่า First Jobber การวางแผนการเงินเป็นเรื่องสำคัญที่หลายคนเริ่มใส่ใจมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง “ประกัน” ที่เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สามารถช่วยเราถ่ายโอนความเสี่ยง (risk management) แต่คำถามยอดฮิตก็คือ...

3 ประกันภัยอุบัติเหตุ แบบไหนที่ใช่คุณ

ประกันอุบบัติเหตุ คืออะไร และแบบไหนที่ใช่เรา