2 นาที

6 ปัจจัยสำคัญเลือกซื้อประกันชีวิตให้มีแต่คำว่าคุ้ม

แชร์

“ตอนนี้อายุ 25 ปี อยากทำประกันชีวิตให้ตัวเองซัก 1 กรมธรรม์ ประกันชีวิตแบบไหนดีที่สุดคะ ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ” 
ประกันชีวิตเป็นอีก 1 ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยบริหารความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ พูดง่ายๆ ก็คือ การทำประกันชีวิตเป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงที่มีไปให้บริษัทประกันช่วยดูแล ถึงแม้จะไม่สามารถชดเชยความสูญเสียได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็ช่วยลดทอนผลกระทบจากความสูญเสียได้บางส่วน 
การวางแผนซื้อประกันชีวิตที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะพิจารณาจากเบี้ยประกันชีวิตที่สอดคล้องกับสภาวะการเงินแล้ว การพิจารณารายละเอียดปลีกย่อยที่ครอบคลุมในหลายๆ ปัจจัยก็เป็นเรื่องสำคัญที่คนอยากทำประกันชีวิตไม่ควรมองข้าม 


ประกันชีวิต


ปัจจัยสำคัญเลือกซื้อประกันชีวิตให้มีแต่คำว่าคุ้ม 


1.เข้าใจความแตกต่างของประกันชีวิตแต่ละประเภท 

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ใช้เกณฑ์ในการแบ่งประเภทของประกันชีวิตไว้ 2 แบบ ดังนี้ 


ประชีวิตแบบทั่วไปมี 5 ประเภท ได้แก่ 

1) ชั่วระยะเวลา (Term Life Insurance) 

2) ตลอดชีพ (Whole Life Insurance) 

3) สะสมทรัพย์ (Endowment/Saving Insurance) 

4) เงินได้ประจํา/แบบบํานาญ (Annuity Insurance) 

5) ควบการลงทุน (Unit link)


ประกันชีวิตแบบพิเศษมี 2 ประเภท ได้แก่ 

1) ควบการลงทุน (Investment-linked life insurance) 

2) เฉพาะผู้สูงอายุ  


ประกันชีวิตทั้ง 7 ประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงที่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนการตัดสินใจซื้อประกันทุกครั้งจึงควรศึกรายละเอียดของประกันชีวิตแต่ละประเภทให้ดีเสียก่อน เพื่อผลประโยชน์อันสูงสุดของตัวเราเอง 


อ่านบทความ ประกันชีวิตมีกี่ประเภท และประเภทไหนที่ใช่เรา 


2.เลือกทุนประกันชีวิตที่เหมาะสม 

การวางแผนการซื้อประกันชีวิตนอกจากต้องเข้าใจความแตกต่างของประกันชีวิตแต่ละประเภทแล้ว ปัจจัยด้านทุนประกันเองก็สำคัญไม่แพ้กัน การเลือกทุนประกันที่ดีจะต้องมีวงเงินการคุ้มครองที่เพียงพอต่อความเสี่ยงทางการเงินของเรา ไม่ว่าจะเป็น ภาระทางการเงินที่อาจจะตกไปถึงคนข้างหลัง หรือ ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่คาดฝัน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เรามีความมั่นใจว่า ไม่ว่าในสถานการณ์ไหน ชีวิตก็จะดำเนินต่อไปแบบไม่สะดุด 

ยกตัวอย่างเช่น เรามีหนี้สินเชื่อบ้านอยู่ 1 ล้านบาท การเลือกทุน เลือกกำหนดทุนประกันก็ควรจะให้เพียงพอต่อภาระหนี้สินที่มี เพื่อให้ผู้รับผลประโยชน์จากการทำประกันชีวิตของเรานั้นสามารถปลดภาระหนี้สินที่ตกทอดไปถึงพวกเขาได้ 

อ่านบทความ 3 แนวคิด เลือกทุนประกันชีวิตที่เหมาะกับคุณ  


3.ระบุความต้องการ และความแตกต่างให้ชัดเจน 

ความต้องการ เป้าหมาย และความเสี่ยงของคนเรามีความแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ และวิถีการดำเนินชีวิต การเลือกซื้อประกันชีวิตจึงควรเลือกแบบประกันให้ตอบโจทย์กับความต้องการ และสอดคล้องกับความแตกต่างของแต่ละบุคคล  

ยกตัวอย่างเช่น นาย noon เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้อยู่ในระดับกลางๆ ต้องการสร้างมรดกเป็นเงินจำนวนก้อนหนึ่งไว้ให้กับคนที่รักในยามที่เขาจากไป “ดังนั้นประกันชีวิตที่น่าจะเหมาะกับเขาคือ”ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ “เนื่องจากแบบดังกล่าว เน้นความคุ้มครองชีวิตที่สูง มีมูลค่าเงินสด และเบี้ยประกันไม่สูงมากนัก” 


4.สำรวจความพร้อมในการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต  

เราวางแผนจ่ายเบี้ยประกันดีหรือยัง? ถึงแม้ว่าเราจะได้เจอกับแบบประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์กับความต้องการของเราทุกประการ แต่ถ้าเราฝืนจ่ายเบี้ยประกันเกินกำลังของตัวเองอาจทำให้แบบประกันปังๆ กลายเป็นพังได้ ดังนั้นนอกจากจะมองหาแบบประกันที่ตรงใจแล้ว เบี้ยประกันก็ควรอยู่ในเกณฑ์ที่เราจ่ายไหวด้วย หรืออ้างอิงตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางการเงินส่วนบุคคล ที่ระบุว่าเบี้ยประกันภัยต่อปีในระดับแนะนำนั้น อาจจะอยู่ที่ราว ๆ 10% ของรายได้ต่อปี  


5.ทำความรู้จักบริษัทประกันให้มากขึ้น หาข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงเพื่อความมั่นใจ 

ปัจจัยด้านความมั่นคงของบริษัทประกันชีวิตมักเป็นปัจจัยที่เรามักหลงลืม หรือไม่ค่อยคำนึงถึง แต่รู้หรือไม่? ความมั่นคงของบริษัทประกันนั้นจะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงความปลอดภัยในการทำประกันชีวิต เช่น เราสามารถศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยได้จากรายงานอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR) หรือจากงบการเงินของบริษัทประกันภัย ทั้งที่เผยแพร่โดยสำนักงาน คปภ. หรือจากบริษัทประกันภัยโดยตรง เพราะยิ่งบริษัทประกันมีความมั่นคงมากเท่าไหร่ ความพร้อมในการให้บริการด้านการประกันภัย อาทิเช่น การจ่ายค่าสินไหมทดแทน ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น 


6.ศึกษาข้อยกเว้นและเงื่อนไข 

การเลือกซื้อแบบประกัน ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือประกันใดๆ ก็ตาม เรามักย้ำเตือนอยู่เสมอว่าควรอ่านรายละเอียดความคุ้มครอง และข้อยกเว้น หรือเงื่อนไขต่างๆ ให้ดี เพราะหากพลาดไปแม้แต่จุดเดียวอาจทำให้เราพลาดสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองจากประกันไปเลยก็ได้  

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้เอาประกันฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี นับจากวันทำสัญญาหรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้ายบริษัทประกันชีวิตจะยกเว้นการจ่ายเงินเอาประกันให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ทันที เพราะผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้ในสัญญาประกันภัย 


สรุป การเลือกซื้อประกันชีวิตให้มีประสิทธิภาพควรพิจารณาจาก 6 ปัจจัยด้วยกัน ซึ่ง ประกอบไปด้วยปัจจัยด้านความเข้าใจความแตกต่างของประกันชีวิตแต่ละประเภท ปัจจัยด้านการเลือกทุนประกันชีวิตที่เหมาะสมทุน ปัจจัยด้านความต้องการ และความแตกต่างเฉพาะบุคคล ปัจจัยด้านความพร้อมในการจ่ายเบี้ยประกัน ปัจจัยด้านข้อมูลของบริษัทประกัน และสุดท้ายปัจจัยด้านรายละเอียดของข้อยกเว้น และเงื่อนไขของแบบประกันชีวิต  


หากรู้คำตอบแล้วว่าตัวเรานั้นเหมาะสมกับประกันชีวิตแบบไหนก็อย่าลืมแวะเข้ามาเลือกซื้อประกันชีวิตผ่าน noon.in.th ที่นี่เรามีแบบประกันชีวิตให้เลือกซื้อมากมาย ทั้งตอบโจทย์ และครอบคลุมทุกความต้องการ 


ค้นหาประกันชีวิตที่ใช่ เลือกจากตรงนี้ได้เลย



ขอบคุณแหล่งข้อมูล : oic.or.th , moneybuffalo.in.th, prachachat.net, thaipublica.org

หนังสือ หลักสูตรวางแผนการเงิน : ชุดวิชาที่3 การวางแผนประกันภัย หน้าที่ 7-8 

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะบทความนี้มีคำตอบ

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน