2 นาที

“เจ้าของธุรกิจ กับ 5 ภาษีที่ต้องรู้จัก”

แชร์

ยุคนี้ ใครๆ ก็อยากจะมีกิจการเป็นของตัวเอง แต่ถ้าคิดจะมีกิจการเป็นของตัวเองแล้วต้องไม่ลืมศึกษาเรื่องภาษีด้วยนะ เพราะเป็นเรื่องสำคัญ ที่เจ้าของกิจการหลายๆ คนพลาดมาแล้ว! 


วันนี้ noon ขอแนะนำภาษีทั้ง 5 ประเภทที่เจ้าของกิจการ หรือนักธุรกิจทั้งหลายต้องรู้จักและต้องชำระให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าใครยังไม่รู้จัก ต้องรีบไปศึกษาแล้วนะ 

1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ตามแบบ ภ.ง.ด.50) 


เจ้าภาษีตัวนี้เป็นภาษีที่สรรพากรจะเรียกเก็บจากนิติบุคคลซึ่งจะเก็บกับคนที่ทำธุรกิจที่จดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน โดยภาษีเงินได้นิติบุคคล 

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลมี 2 ประเภท ดังนี้ 

  • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปอัตราภาษี 20% 
  • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล(SME) ที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ตลอดทั้งปีไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับอัตราภาษีพิเศษ ดังนี้ 
กำไรสุทธิ อัตราภาษีร้อยละ 
ไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้น 
เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท 15 
เกิน 3,000,000 บาท ขึ้นไป        20 



วิธีคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล 
กำไรสุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องชำระ



2.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ตามแบบ ภ.ง.ด.53) 


ภาษีประเภทนี้เป็นภาษีที่ถูกหักไว้ล่วงหน้าแล้ว เราจึงสามารถขอคืนภาษีประเภทนี้ได้หากชำระไว้เกิน เพราะตัวกฎหมายกำหนดว่าให้คนที่จ่ายเงินให้กับกิจการของเรา หรือคู่ค้าที่จ่ายเงินให้กับเรานั้นมีหน้าที่หักภาษีไว้เมื่อมีการจ่าย ซึ่งเป็นไปตามประเภทของเงินได้ และตามอัตราภาษีที่กำหนด

ประเภทของเงินได้ ผู้รับเงิน อัตราภาษีที่กำหนด 
ค่านายหน้า และ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 3.0 
มูลนิธิหรือสมาคม ร้อยละ 10.0 
ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ย ตั๋วเงิน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 1.0 
มูลนิธิหรือสมาคม ร้อยละ 10.0 
ให้เช่าทรัพย์สิน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 5.0 
 มูลนิธิหรือสมาคม ร้อยละ 10.0 
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40 (6) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 3.0 
มูลนิธิหรือสมาคม ร้อยละ 10.0 
เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไรหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 10.0 
ค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็น เงินได้พึงประเมินตาม – มาตรา 40 (7) แห่งประมวล รัษฎากร  – มาตรา 40 (8) แห่งประมวล รัษฎากรการรับจ้างทำของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 3.0 
เงินจากการประกวด แข่งขัน ชิงโชค หรือการอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 5.0 
ค่าโฆษณา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 2.0 
เงินได้จากการให้บริการ/การจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ /การจ่ายค่าบริการโรงแรม และภัตตาคาร/การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 3.0 
รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 3.0 
ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย ร้อยละ 1.0 
ค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่าย ค่าโดยสารสำหรับการขนส่ง สาธารณะ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ยกเว้นมูลนิธิหรือสมาคม) ร้อยละ 1.0 
การจ่ายเงินได้ จากการซื้อขายสินค้า ประเภท ยางแผ่น หรือยางชนิดอื่นจาก ต้นยางพารา มันสำปะหลัง ปอ ข้าว ข้าวโพด อ้อย เมล็ดกาแฟ ผลปาล์มน้ำมัน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 0.75 


3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม 


หลายคนคุ้นๆ กับภาษีประเภทนี้ เพราะเคยได้ยินจากการซื้อของกินของใช้ทั่วไป ซึ่งเราต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีประเภทนี้จะเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากคนทำธุรกิจหรือคนที่ให้บริการต่างๆ โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ ก็คือ ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ฯลฯ ที่มีรายได้/ยอดขายตั้งแต่ 1,800,000 บาท/ปี ขึ้นไป ไม่ว่ากิจการนั้นจะเป็นในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล


วิธีคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม   
ราคาสินค้า/บริการ x 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หมายเหตุ 
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เราถูกเรียกเก็บนั้นเป็นการเรียกเก็บจาก 2 ส่วนคือ  

  • ส่วนแรก : ส่วนของรัฐเก็บ 6.3% ตามที่พ.ร.ฎ.กำหนด 
  • ส่วนที่สอง : ส่วนของเทศบาลแต่ละท้องที่เก็บ 1/9 ของส่วนแรก 

ทำให้สุทธิแล้ว เราจะเสียทั้งหมด 6.3% บวกกับ 1/9 x 6.3% = 0.7% เป็น 7% สุทธิ จริง ๆ แล้วกฎหมายบัญญัติอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 10% แต่ทุก ๆ สองปี (รวมถึงในปัจจุบัน) มักจะมี พระราชกฎษฎีกา ออกมาเพื่อลดอัตราดังกล่าวลงมาเหลือ 7% 

อ่านเพิ่มเติมเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มต่อที่ talkToKasidis 



4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ 


ภาษีประเภทนี้จะถูกเก็บในธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงเช่น ธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ถ้าเจ้าของกิจการคนไหนที่ไม่ได้ทำกิจการที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขต้องเสียภาษีประเภทนี้ก็สามารถปล่อยผ่านแบบชิลๆ ได้เลย 

อ่านเรื่องฐานภาษีและอัตราภาษีเพิ่มเติม



5.อากรแสตมป์ 


อากรแสตมป์เป็นภาษีที่คนทั่วไปมักไม่ค่อยคุ้นชื่อกันเท่าไหร่ ซึ่งจะเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน ใน 28 ลักษณะที่เค้ากำหนดไว้ถ้าเจาะลึกอาจจะยาวววววว เราสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสรรพากรได้เลยที่ www.rd.go.th 


ขอบคุณที่มา : Taxbugnoms – Ep.4 : ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณแบบไหน? วางแผนอย่างไร?, กรมสรรพากร, คู่มือการหักภาษี ณ ที่จ่าย,

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

น้ำท่วมบ้าน ประกันบ้านคุ้มครองอะไรบ้าง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับประกันภัยสำหรับเจ้าบ้านที่คนมีบ้านต้องรู้

น้ำท่วมบ้านเสียหายหนัก เคลมประกันภัยบ้านอย่างไรดี

ไฟไหม้ หรือน้ำท่วมเฉียบพลันเป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่สามารถสร้างความสูญเสีย "บ้าน” ของเราได้อย่างมากมาย แต่ถ้าใครที่ทำประกันภัยบ้านไว้ก็ก็ไม่ต้องกังวล เพราะประกันนี้จะช่วยเราแบ่งเบาภาระค่าซ่อมแซมบ้านให้ ซึ่งวิธีการเคลมประกันภัยบ้านนั้นก็ง่ายแสนง่ายมีเพียง 7 ขั้นตอนเท่านั้น