2 นาที

3 ทริคใช้สิทธิ Easy E-Receipt อย่างไรให้คุ้มฉ่ำ

แชร์

กลับมาอีกครั้งกับโครงการเอาใจสายช้อปพร้อมได้ลดหย่อนภาษี ในปีที่แล้วเราอาจคุ้นเคยกันในชื่อ ช้อปดีมีคืน 66 แต่ในปี 67 นี้เขากลับมาในชื่อ Easy E-Receipt ซึ่งเป็นโครงการลดหย่อนภาษีที่มีความคล้ายคลึงกับช้อปดีมีคืน แต่เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ยื่นภาษีเงินได้อย่างเราได้มากขึ้น 

โครงการ Easy E-Receipt นั้นช่วยลดทอนเรื่องยุ่งยากอย่างการที่ต้องมานั่งเก็บรักษาใบกับกำภาษีแบบกระดาษไว้เป็นปีเพื่อเตรียมใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในปีถัดไป ซึ่งในปีนี้ เราใช้แค่เพียงใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Tax Invoice และ e-Receipt ของการซื้อสินค้าและบริการที่ร้านค้าหรือผู้ประกอบการส่งให้เราทาง e-mail และข้อมูลจะถูกส่งเข้าฐานข้อมูลของกรมสรรพากรอัตโนมัติ ถือว่าเป็นการอัพเกรดที่ทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้น และเพื่อให้ผู้อ่านทุกคนได้ประโยชน์อย่างสูงสุดจากโครงการ Easy E-Receipt วันนี้เรามี  3 ทริคใช้สิทธิ Easy E-Receipt อย่างไรให้คุ้มฉ่ำ 

1.ตรวจสอบอัตราภาษีตัวเรานี้ลดหย่อนได้เท่าไหร่ 
อย่างที่เรากันดีว่า โครงการ Easy E-Receipt ให้เราสามารถนำค่าใช้จ่ายสินค้า หรือบริการไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงหรือสูงสุด 50,000 บาท แต่ไม่ใช่ว่าเราจะเอา 50,000 ไปหักจากยอดเสียภาษีได้ดื้อๆ เพราะต้องเอาอัตราภาษีตามรายได้สุทธิมาคูณก่อน ดังนี้ 
รายได้สุทธิ อัตราภาษี ซื้อ 50,000 ลดหย่อนได้ 
0 – 150,000 ยกเว้น 
150,001 – 300,000 5% 2,500 
300,001 – 500,000 10% 5,000 
500,001 – 750,000 15% 7,500 
มากกว่า 750,000 20% 1,0000 
2.วางแผนการใช้จ่าย 
กำหนดเป้าหมายการใช้จ่ายที่คุ้มค่ากับสิทธิลดหย่อนภาษี 50,000 บาท เช่น ซื้อสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต สินค้าเพื่อการศึกษา สินค้าเพื่อประกอบอาชีพ เป็นต้น 
3.ใช้สิทธิร่วมกับบัตรเครดิต 
บัตรเครดิตเหมือนกับดาบ 2 คมหากเรารู้ทัน และไม่ใช้เงินจนเกินตัวบัตรเครดิตก็ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สร้างคุณมากกว่าโทษ เช่นในกรณีของโครงการ Easy E-Receipt หากเรามีแผน และเงินพออยู่แล้วที่จะซื้อสินค้า หรือบริการ นั้นๆ แทนที่เราจะจ่ายเป็นเงินสดไปเลย ก็อาจใช้เป็นบัตรเครดิตแทน เพราะบางบัตรเครดิตอาจมีโปรโมชั่นดีๆ อย่างเช่น เครดิตเงินคืน หรือได้คะแนนสะสมเข้าบัตร 2 เท่า ได้ทั้งสิทธิพิเศษจากบัตร และประโยชน์ทางภาษีถือว่ายิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว 
โครงการ Easy E-Receipt นับว่าอีกหนึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ดีต่อใจผู้สียภาษีอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าจะมีระยะเวลาโครงการที่สั้นไปหน่อย แค่วันที่ 1 ม.ค – 15 ก.พ 67 ก็ตาม แต่เราก็สู้ไม่ถอยอย่างแน่นอน ซึ่งสินค้า หรือบริการที่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt นั้น ได้แก่ 1.สินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) 2.สินค้าและบริการพิเศษที่ไม่ได้จด vat แต่ก็เข้าร่วมโครงการด้วย เช่นค่าหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ทั้งแบบเล่มปกติและแบบ e-book และสินค้า OTOP โดยเราสามารถตรวจสอบ รายชื่อผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt ได้ที่ https://etax.rd.go.th/etax

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

น้ำท่วมบ้าน ประกันบ้านคุ้มครองอะไรบ้าง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับประกันภัยสำหรับเจ้าบ้านที่คนมีบ้านต้องรู้

น้ำท่วมบ้านเสียหายหนัก เคลมประกันภัยบ้านอย่างไรดี

ไฟไหม้ หรือน้ำท่วมเฉียบพลันเป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่สามารถสร้างความสูญเสีย "บ้าน” ของเราได้อย่างมากมาย แต่ถ้าใครที่ทำประกันภัยบ้านไว้ก็ก็ไม่ต้องกังวล เพราะประกันนี้จะช่วยเราแบ่งเบาภาระค่าซ่อมแซมบ้านให้ ซึ่งวิธีการเคลมประกันภัยบ้านนั้นก็ง่ายแสนง่ายมีเพียง 7 ขั้นตอนเท่านั้น