3 นาที

3 ประกันน่าตำ ช่วยคุณรับมือน้ำท่วม

แชร์

“น้ำท่วม” เป็นเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่ประเทศไทยต้องประสบพบเจออยู่ทุกๆ ปี และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูลจากศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพบว่าภายใน 5 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2557-2561 มีมูลค่าทรัพย์สินที่เสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมรวมกว่า 2,349,160,036 บาท และปี 67 นี้ มีครัวเรือนกว่า 338,391 ที่ได้รับผลกระทบ

หลายๆ คนเป็นกังวลว่า บ้าน รถ พื้นที่เกษตร หรือทรัพย์สินอื่นที่เสียหายจากน้ำท่วมใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยปกติแล้วภาครัฐจะเป็นผู้เข้าไปช่วยเหลือเยียวยา ซึ่งในปี 67 นี้รัฐบาลได้ประกาศว่าหากบ้านของคุณได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม 70% จะได้รับเงินเยียวยา 230,000 บาท เป็นอย่างน้อย (อ่านข่าว บ้านน้ำท่วมพัง 70 % รัฐเยียวยา 2 แสน ลดค่าน้ำไฟ 30 %)

นอกจากการเยียวยาจากรัฐแล้ว ในอีกทางหนึ่งตัวเราเองยังสามารถถ่านโอนความเสี่ยงนี้ไปยังบริษัทประกันให้ประกันช่วยดูแลได้ด้วย โดยประกันที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินจากกรณีน้ำท่วมที่เราจะนำมาแชร์ในวันนี้มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันได้แก่ประกันรถยนต์ (Auto Insurance) ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย(Fire Insurance)  และประกันภัยพืชผล (Crop Insurance)
3 ประกันน่าตำ ช่วยคุณรับมือความเสี่ยงจากน้ำท่วม
ประกันรถยนต์ (Auto Insurance)
เราคงไม่ต้องพูดถึงประกันประเภทนี้กันเยอะมาก เพราะหลายๆ คนคงพอจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าประกันรถยนต์นั้นเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเราแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ จากความเสียหายไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นกับรถของเรา โดยรายละเอียดความคุ้มครองของประกันรถยนต์นั้นจะแบ่งตามประเภทของประกัน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ชั้นประกัน” ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชั้น ดังนี้
  • ประกันรถยนต์ ชั้น 1  
  • ประกันรถยนต์ ชั้น 2 
  • ประกันรถยนต์ ชั้น 2+ 
  • ประกันรถยนต์ ชั้น 3 
  • ประกันรถยนต์ ชั้น 3+ 
ในกรณีที่เราอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง ประกันรถยนต์ชั้น 1 อาจเป็นคำตอบที่มองหาเพราะประกันชั้น 1 เป็นประกันรถยนต์เพียงชั้นเดียวที่ให้ความคุ้มครองตัวรถยนต์จากกรณีน้ำท่วม แต่ประกันชั้นอื่นๆ ก็สามารถให้ความคุ้มครองภัยจากน้ำท่วมได้เช่นกัน หากเราซื้อสัญญาเพิ่มเติมภัยน้ำท่วม หรือภัยธรรมชาติ
การประเมินค่าสินไหมทดแทนกรณีที่รถยนต์ถูกน้ำท่วม
ประกันน้ำท่วม


อ่านบทความเกี่ยวกับ พ.ร.บ.VS ประกันรถยนต์ต่างกันแค่ไหนนะ

ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย (Fire Insurance)
การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย เป็นการประกันภัยทรัพย์สินที่ให้ความคุ้มครองแบบ “ระบุภัย (Named Peril)” กล่าวคือเป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด ตึกแถวสำหรับอยู่อาศัย ห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต อาคารชุด คอนโดมิเนียม และทรัพย์สิน ภายในสิ่งปลูกสร้างนั้นจากภัยที่ระบุไว้เท่านั้น โดยเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับทรัพย์สินที่เอาประกันไว้ทางบริษัทประกันจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เรา
รายละเอียดความคุ้มครองของประกันอัคคีภัยเพื่อที่อยู่อาศัย มีดังนี้ 
  • ภัยคุ้มครองพื้นฐานทั่วไป
  • ไฟไหม้  
  • ความเสียหายจากการระเบิดทุกชนิด 
  • ฟ้าฝ่า
  • ภัยจากการเฉี่ยว และหรือการชนของยานพาหนะหรือสัตว์พาหนะ  
  • ภัยจากอากาศยาน และหรือวัตถุที่ตกจากอากาศ 
  • ภัยจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากน้ำ  เช่น การรั่วไหล หรือการล้นออกมาของน้ำ
  • ภัยคุ้มครองพื้นฐานที่เป็นภัยธรรมชาติ
  • ภัยจากลมพายุ 
  • ภัยจากน้ำท่วม  
  • ภัยจากแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำ หรือสึนามิ  
  • ภัยจากลูกเห็บ
หมายเหตุ หมวดภัยคุ้มครองพื้นฐานที่เป็นภัยธรรมชาติ บริษัทประกันจะชดใช้ค่าสินไหมตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง หรือทุกภัยรวมกันแล้วไม่เกิน 20,000 บาท/ปี
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
1.บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมูลค่าที่แท้จริงทรัพย์สิน   (Actual Cash Value)
ยกเว้นกรณีที่ทุนเอาประกันต่ำกว่ามูลค่าของทรัพย์สินนั้นๆ เราจะต้องจ่ายส่วนที่ต่างเอง และในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนเราจะต้องรับภาระส่วน เฉลี่ยความเสียหายไปตามส่วนทุก ๆ รายการ และหากมีมากกว่าหนึ่งรายการให้แยกพิจารณาเป็นแต่ละรายการโดยบริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแต่ละรายการตามหลักการต่อไปนี้
ประกันน้ำท่วม
หมายเหตุ (มูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน เท่ากับ มูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่ หัก ด้วยค่าเสื่อมราคา ณ เวลาและสถานที่ที่เกิดความเสียหาย)
2.บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่ ณ เวลา และ สถานที่ที่เกิดความเสียหาย  ่ (Replacement Cost Valuation)
การประกันภัยพืชผล (Crop Insurance)
ประกันภัยที่ออกแบบมาเพื่อเกษตรกรดดยเฉพาะ โดยประกันภัยพืชผลจะให้ความคุ้มครองความเสียหายหรือสูญเสียต่อพืชผลที่เอาประกันภัย ซึ่งเกิดจากภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ลมพายุ ลูกเห็บตก เป็นต้น ขึ้นอยู่กับพื้นที่และชนิดของพืชที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแตกต่างกัน ซึ่งการประกันภัยพืชผลจะมีกรมธรรม์สำหรับพืชหลัก 2 ชนิด คือ ข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้แก่
ประกันภัยข้าวนาปี
รายละเอียดความคุ้มครอง
  • หมวดความคุ้มครองที่ 1 ความเสียหายจากน้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาว หรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชย จำนวน 1,111 บาท/ไร่
  • หมวดความคุ้มครองที่ 2 ความเสียหายจากศัตรูพืชหรือโรค บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชย จำนวน 555 บาท/ไร่
หมายเหตุ มูลค่าความคุ้มครองในหมวดที่ 1 และ 2 รวมกันสูงสุดไม่เกิน 1,111 บาท/ไร่”
การประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยใช้ดัชนีน้ำฝนและดัชนีความแห้งแล้งสำหรับรายย่อย
รายละเอียดความคุ้มครอง
ภัยที่คุ้มครอง ภัยธรรมชาติ 7 ภัย น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือนำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ ภัยจากช้างป่า ศัตรูพืช หรือโรคระบาด
จำนวนเงินความคุ้มครองพื้นฐาน 1,500 บาท/ไร่ 750 บาท/ไร่
จำนวนเงินความคุ้มครองส่วนเพิ่ม 240 บาท/ไร่ 120 บาท/ไร่
ประกันทั้ง 3 ประเภทนี้เป็นเพียงการวางแผนเชิงรับเพื่อเป็นแนวทางในการรับมือกับความเสียหายของทรัพย์สินอันเนื่องมาจากภัยน้ำท่วมเท่านั้น แต่การรับมือกับค่ารักษา ค่าใช้ใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางร่างกายของเราจากสถานการณ์น้ำท่วมนั้น ประกันสุขภาพอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยแบ่งเบาภาระได้เพื่อให้เราเบาใจได้ทุกครั้งเมื่อภัยมา

ค้นหาและเปรียบเทียบแบบประกันสุขภาพที่ใช่

infographic – 3 ประกันน่าตำ ช่วยคุณรับมือคน้ำท่วม



ขอบคุณข้อมูลจาก : workpointtoday, bangkokbiznews.com, oic.or.th/th

 

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

มัดใจลูกค้าด้วย 4 เทคนิคการบริการแบบ Personalize ที่ยังไงก็ปัง

การบริการด้วยการสร้างประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคล (Personalize) กำลังเป็นกลยุทธ์ที่ใครๆ ก็ต่างให้ความสนใจ เพราะการบริการแบบเฉพาะบุคคลนี้จะช่วยให้เราสามารถเพิ่มจำวนลูกค้าประจำได้มากขึ้น รวมไปถึงช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน

5 เทคนิคเลือกประกันรถยนต์สำหรับมือใหม่หัดขับ

มนุษย์เงินเดือนหลาบๆ ท่านพอเริ่มทำงานมาซักระยะหนึ่งก็เริ่มฝันที่อยากจะมีรถยนต์เป็นของตัวเอง และยิ่งหากเป็นมือหัดขับใหม่แล้วด้วย การทำประกันรถยนต์ยิ่งเป็นเรื่องที่ต้องห้ามลืมเด็ดขาด เพราะช่วยให้เราเบาใจในเรื่องของค่าใช้จ่ายค่าซ่อมแซม หากเราบังเอิญขับชน หรือเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด แต่การเลือกประกันรถยนต์ที่ตอบโจทย์อาจทำให้เราเครซี่ได้ วันนี้เราเลยนำเทคนิคการเลือกประกันรถยนต์สำหรับมือใหม่มาฝากกัน