2 นาที

3 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ของคุณถูก – แพง ไม่เท่ากัน

แชร์

เคยสังสัยไหมว่าทำไมค่าเบี้ยประกันรถยนต์ของคุณและเพื่อนไม่เท่ากัน? ถึงแม้จะซื้อรถรุ่นเดียวกัน ปีเดียวกัน ด้วยเพราะทางบริษัทประกันภัยจำเป็นต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยก่อนจะคิดค่าเบี้ยประกัน โดยมีปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ดังนี้

ประกันรถยนต์
1.ปัจจัยเฉพาะบุคคล 
  • อายุและเพศ: ตามสถิติแล้วผู้ขับขี่อายุน้อยมีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุมากกว่า เป็นผลให้เบี้ยประกันสูงกว่าช่วงอายุอื่น ในทำนองเดียวกัน ผู้ขับขี่ที่เป็นผู้ชายมักต้องเผชิญกับเบี้ยประกันภัยที่สูงกว่า เนื่องจากข้อมูลทางสถิติบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ขับขี่ที่เป็นผู้หญิง
  • สถานภาพสมรส: โดยทั่วไปแล้วบุคคลที่แต่งงานแล้วจะถูกมองว่าเป็นผู้ขับรถที่มีความรับผิดชอบมากกว่าบุคคลที่มีสภานภาพโสด ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุน้อยลง จึงอาจมีคุณสมบัติได้รับเบี้ยประกันที่ต่ำกว่า
  • ประวัติการขับขี่: เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อค่าเบี้ยประกัน ไม่ว่าจะเป็นประวัติการเกิดอุบัติเหตุ การละเมิดกฎจราจร และการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หากมีประวัติข้างต้นก็อาจส่งผลให้เบี้ยประกันภัยสูงขึ้น เนื่องจากบ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อเหตุการณ์ในอนาคต ในทางกลับกัน ประวัติการขับขี่ที่สะอาด ไม่เคยมีอุบัติเหตุหรือการละเมิดกฎจราจรก็จะมีค่าเบี้ยประกันที่ต่ำกว่า
2. ปัจจัยด้านรถยนต์ 
  • ประเภทรถยนต์: ยี่ห้อ รุ่น และปีของรถงผลต่อการคำนวณเบี้ยประกัน รถยนต์ราคาแพงหรือสมรรถนะสูงมักมาพร้อมกับเบี้ยประกันที่สูงกว่า เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ที่มากกว่ารถยนต์ธรรมดา ในทางกลับกัน รถยนต์ที่มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยสูงและคะแนนการทดสอบการชนที่ดีก็จะมีเบี้ยประกันที่ต่ำกว่า เพราะอาจจะไม่ต้องซ่อมแซมเยอะเท่า
เกณฑ์การแบ่งกลุ่มรถยนต์ 
กลุ่มรถยนต์แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะแบ่งตามราคาอะไหล่ ค่าซ่อมรถยนต์ ยี่ห้อ และรุ่นรถยนต์ โดยมีเกณฑ์ดังนี้ 
กลุ่มที่ 1   รถยนต์ราคาตั้งแต่ 5,000,000 บาท ขึ้นไป 
กลุ่มที่ 2    รถยนต์ราคาตั้งแต่ 1,500,000 – 5,000,000 บาท 
กลุ่มที่ 3   รถยนต์ราคาตั้งแต่ 1,000,000 – 1,500,000 บาท 
กลุ่มที่ 4   รถยนต์ราคาตั้งแต่ 700,000 – 1,000,000 บาท 
กลุ่มที่ 5   รถยนต์ราคาไม่เกิน 700,000 บาท 
หมายเหตุ กรณีที่เป็นรถยนต์นำเข้า หรือรถสปอร์ต ให้ขยับขึ้นไปอีก 1 ขั้น เช่น รถยนต์นำเข้า มูลค่า 800, 000 บาท ตามปกติแล้วจะต้องจัดอยู่ในกลุ่มที่ 4 แต่เนื่องจากเป็นรถยนต์นำเข้า จึงต้องขยับขึ้นไปอีก 1 ขั้น ทำให้ขยับไปอยู่ในกลุ่มที่ 3 แทน 
รถยนต์ในกลุ่มที่ 1 นั้นมีแนวโน้มอัตราเบี้ยประกันที่สูงกว่ารถยนต์กลุ่มอื่น เนื่องจากมูลค่ารถยนต์ที่มีราคาสูงส่งผลให้อะไหล่ และค่าซ่อมแซมย่อมสูงตามไปด้วย ส่วนกลุ่มอื่นๆ แนวโน้มอัตราเบี้ยประกันรถยนต์ก็จะลดหลั่นตามกันมา ยกเว้นในกรณีที่รถยนต์กลุ่มที่ 2 เป็นรถยนต์นำเข้า หรือหาอะไหล่ค่าเบี้ยประกันก็อาจจะพอๆ กับกลุ่มที่ 1ได้เช่นกัน 

3.ปัจจัยด้านประกันรถยนต์ 

  • ความคุ้มครองและการหักลดหย่อน: การเลือกวงเงินความคุ้มครองที่สูงขึ้นหรือการหักลดหย่อนที่ต่ำกว่ามักส่งผลให้ค่าเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น ในทางกลับกัน การเลือกขีดจำกัดความคุ้มครองที่ต่ำกว่าและการหักลดหย่อนที่สูงขึ้นจะช่วยให้ได้ค่าเบี้ยประกันที่ถูกลง แต่ก็หมายความว่าคุณจะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบเองสูงกว่าหากมีการเคลมขึ้นมา
  • ส่วนลดเบี้ยประกันประวัติดี: บริษัทประกันภัยใช้คะแนนเครดิตของคุณเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการยื่นคำร้อง ผู้ที่มีคะแนนเครดิตสูงกว่ามักถือว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าและอาจได้รับเบี้ยประกันภัยต่ำกว่าผู้ที่มีเครดิตต่ำ
การทำความเข้าใจปัจจัยเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณคาดการณ์ได้ว่าคุณต้องจ่ายค่าประกันภัยรถยนต์เป็นจำนวนเงินเท่าใด อย่างไรก็ตามบริษัทประกันภัยแต่ละแห่งมีหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ค่าเบี้ยประกันไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงควรพิจารณาเปรียบเทียบประกันจากผู้ให้บริการหลายราย เพื่อค้นหาแบบประกันที่คุณพึงพอใจที่สุด
ขอบคุณที่มา https://www.oic.or.th/sites/default/files/part3.pdf 

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะบทความนี้มีคำตอบ

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน